7 ผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ของผู้ที่ติด Social media

TIPS: 18 มีนาคม 2021

ปัจจุบันสถิติการใช้ Social media ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้สูงถึง 75% จากจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นสะท้อนให้เราเห็นว่าในโลกแห่งเทคโลยีทำให้คนเราขาดการเล่นอินเทอร์เน็ตไม่ได้ ไม่ว่าจะใช้ในทางที่ดีหรือเสียก็ตาม 

แม้แต่ผู้ที่ร่วมก่อตั้งหรือสร้างแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็ยังออกมาต่อต้านและกล่าวถึงการเสพย์ติดสื่อด้วยซ้ำว่าเราจำเป็นที่ต้องใช้มันให้พอเหมาะขนาดไหน และควรรักษาระยะห่างเพื่อไม่เกิดภาวะอันตรายต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ 

วันนี้เราเลยขอยกตัวอย่าง 7 ผลกระทบที่อาจส่งผลต่อคุณได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจครับ


1. ลดปฏิสัมพันธ์และสื่อสารระหว่างคนรอบข้าง

เมื่อคุณเสพย์ติดการเล่น Social media มากจนเกินไป คุณจะไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น เพราะมัวแต่อยู่ในสังคมก้มหน้า จนบางครั้งทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญ เป็นเหตุทำให้เพื่อน ๆ เลิกชวนคุณไปทำกิจกรรมต่าง ๆ  หรือถ้าคุณเล่นระหว่างการประชุมก็อาจทำให้คุณประชุมไม่รู้เรื่องส่งผลให้เสียเครดิตของตัวเองแล้วยังเสียงานด้วย


2. เริ่มเสพย์ติดความสนใจจากคนอื่นมากขึ้น

การที่คุณโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ แล้วมีคนสนใจหรือมากดไลค์เป็นประจำ ก็อาจทำให้คุณกลายเป็นคนที่ชอบเรียกร้องความสนใจจากคนเหล่านั้นไปแบบไม่รู้ตัวเลยก็ได้ เนื่องจากคุณนั้นเริ่มเกิดความสนุกสนานและได้พูดคุยกับผู้ที่สนใจในตัวคุณนั่นเอง


3. ก่อให้เกิดโรคโรคซึมเศร้าร้ายแรง

มีผู้ที่ไปวิจัยเกี่ยวกับการเล่น Social media แล้วผลออกมาว่า สื่อต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้าได้จากข่าวที่ดีและไม่ดี เนื่องจากมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อรับคำวิจารณ์จากผู้อื่นในทุก ๆ นาที ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้เมื่อเราเสพย์ติดมันมาก ๆ  จึงไม่ควรเสพย์สิ่งที่ไม่ดีอย่างยิ่งเมื่อเราเศร้าหรือเสียใจอยู่ ควรหากิจกรรมทำเพื่อสร้างความผ่อนคลายจะดีกว่า


4. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ 

เมื่อเราอยู่กับแสงของหน้าจอ โทรศัพท์ หรือ คอมพิวเตอร์มาก ๆ ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสายตาหรือเกิดปัญหาทางสายตาอื่น ๆ เช่น การแพ้แสงในที่กลางแจ้ง หรือ อาจร้ายแรงถึง ต้อกระจก ต้อหิน นอกจากเรื่องสายตาก็ยังมีเรื่องความดันโลหิต การปวดศีรษะ และกระทบไปถึงการพักผ่อนอีกด้วย


5. เปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับคนอื่น

ชีวิตจริงกับในสื่อออนไลน์นั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง หลายคนอาจสร้างสร้างตัวตนในโลกออนไลน์เพื่อให้คนสนใจจนมากเกินไป แค่เพื่อต้องการชนะในสายตาผู้อื่น หรือบางคนอาจมองถึงวิถีชีวิตที่ดีของคนอื่น จนเอามาเปรียบเทียบกับตัวเอง ซึ่งไม่ได้เกิดผลประโยชน์ดีอะไรกับชีวิตเลยครับ มีแต่เสียกับเสียด้วยซ้ำ 


6. ขาดความเป็นส่วนตัว

หากคุณชื่นชอบที่จะระบายเรื่องราวต่าง ๆ ลงบน Social media ลองนึกย้อนดูนะครับว่า มีเนื้อหาอะไรบ้างที่เราได้โพสต์ลงไปในแต่ละวัน จนบางครั้งข้อมูลเหล่านั้นอาจส่งผลที่ไม่ดีต่อคุณก็ได้ ดังนั้นควรจะเผยแพร่อะไรแต่พอควรจะดีกว่า


7. ไขว้เขวจากเป้าหมายที่ตั้งใจ

ปัจจัยหลักที่ทำให้เราผัดวันประกันพรุ่งก็คือ การที่เราเพลิดเพลินกับสื่อออนไลน์ที่มอบความรู้หรือความสนุกต่าง ๆ ให้กับเราจนมากเกินไป ทำให้เราอาจมองข้ามสิ่งที่เราจะทำหรือเป้าหมายที่เราตั้งใจทำให้สำเร็จ 


การเสพย์ติด Social media นั้นเหมือนดาบสองคม เพราะการที่เรานั้นเสพย์ติดมันมากจนเกินไปมันก็ส่งผลทั้งด้านดีและไม่ดี แต่ในปัจจุบันเราก็ต้องยอมรับครับว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนขาดไม่ได้แล้วในชีวิตประจำวัน ดังนั้นควรมีสติทุกครั้งในการเสพย์สื่อข่าวต่าง ๆ 

เพราะนั่นคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและใจเป็นอย่างมาก ซึ่งทางที่ดีควรใช้ในด้านที่บันเทิงเพื่อคลายเครียด หรือหาความรู้เพื่อที่จะไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้ง่ายดายขึ้น ทั้งในด้านสุขภาพและอาชีพการงานน่าจะเป็นเรื่องดีที่สุดครับ 

หรือหากอยากเข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียของ Social media จริง ๆ ผมแนะนำให้คุณไปดูภาพยนตร์เรื่อง Social dilemma เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากผู้ที่สร้างแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram ที่ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สำหรับการใช้นั่นเองครับ