Virtual Run หนึ่งในเทคโนโลยีของโลกกีฬาที่เข้ามาสร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วสงสัยกันไหมว่า เทคโนโลยีที่มาขับเคลื่อนในวงการวิ่งอย่าง Virtual Run เนี่ยทั้งหมดทั้งมวลแล้วคืออะไรและมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง
เพราะจริงๆแล้ว ปัญหาส่วนใหญ่ของนักวิ่งมือใหม่หรือนักวิ่งมาราธอนนั้นคือ ไม่ค่อยมีเวลาว่าง สถานที่จัดงานวิ่งไกล เดินทางไม่สะดวก หรือเหตุผลอื่นๆอีกมากมาย ที่ทำให้ไม่สะดวกไปตามงานวิ่งแบบคนอื่นๆ จึงทำให้ต้องหาวิธีอื่น เพื่อที่จะได้ใช้เวลาที่เหมาะสมและง่ายต่อการวิ่งของตนเอง
ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาจนเป็นระบบ Virtual Run ได้สร้างความสะดวกสบายเป็นอย่างมากให้กับนักวิ่งทุกคน เพราะไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน หรือว่างเมื่อไหร่ คุณก็สามารถเข้าร่วมการวิ่งได้ หรือถ้าไม่สะดวกออกไปวิ่งที่อื่นจริงๆ คุณก็ยังสามารถวิ่งบนลู่วิ่งที่บ้านได้อีกด้วย เพียงแค่คุณมีอุปกรณ์บันทึกจับเวลา ระยะทางและสัญญาณ GPS จะด้วยนาฬิกา หรือ ผ่านแอปต่างๆ
หลังจากที่ทั่วโลกพบเจอกับสถานการณ์โรคระบาดจาก Covid-19 ยิ่งทำให้ Virtual Run ตอบโจทย์กับนักวิ่งมากขึ้น เพราะธุรกิจการกีฬา งานจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องถูกยกเลิกหรือเลื่อนไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ซึ่งก็ต้องพูดเลยว่างานจัดวิ่ง “มาราธอน"นั้นก็รับผลกระทบไปอย่างเต็มๆ อย่าว่าแต่ไม่มีที่ใดจัดงานวิ่งเลยครับ แม้แต่จะออกไปเจอผู้คนตามที่ต่างๆก็ไม่อยากจะออกแล้ว ถึงเวลามาทำความรู้จักกับ Virtual Run ให้มากขึ้นแล้วในบทความนี้
Virtual Run คือแพลตฟอร์มการวิ่งออนไลน์รูปแบบใหม่ในวงการกีฬา ที่ใช้จัดกิจกรรมกับการวิ่งมาราธอนในรูปแบบออนไลน์หรือเรียกได้อีกชื่อนึงก็คือ Virtual Race สามารถสะสมระยะวิ่ง เวลาไหนก็ได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ในเส้นทางที่ผู้วิ่งสามารถเป็นคนกำหนดเอง และสามารถได้รับของรางวัลเหมือนกัน ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในงานมาราธอนจริงๆ แม้จะวิ่งอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม
และที่น่าตื่นเต้นไปกว่านั้น บนแพลตฟอร์มยังเป็นรูปแบบการ"จัดอันดับการวิ่ง"ในแต่ละ Challenge เพื่อบันทึกเวลาและระยะวิ่งที่วิ่งได้ แข่งขันกับเพื่อนๆ ใน Challenge เดียวกัน เหมือนเป็นการผลักดันและฝึกซ้อมให้กับตัวคุณเองด้วย
และในกิจกรรมการวิ่งแบบ Virtual Run นี้ยังมีการนำการกุศล หรือ CSR เข้ามาร่วมด้วย ทุกๆครั้งที่คุณได้เลือกลงแข่งในแคมเปญนั้นๆ จะต้องชำระเงินตามที่กำหนดในระยะทางที่คุณอยากลงวิ่ง เงินที่คุณชำระไปมีการหักค่าใช้จ่ายสำหรับการกุศลในการทำบุญต่างๆอีกด้วย แล้วแต่ว่าผู้จัดนั้น จะมีการเอาเงินที่หักจำนวนนั้นไปทำบุญในรูปแบบไหน
จริงๆแล้วการวิ่งแข่งขันในรูปแบบ Virtual Run ก็เคยถูกจัดขึ้นในบ้านเรามานานแล้ว แต่อาจจะไม่ได้รับความนิยมมากพอ คงเป็นเพราะระบบของการส่งผลการวิ่งที่ทำได้แค่ส่งผ่านให้ผู้จัดงานผ่านแอปพลิเคชั่น Line ดูเหมือนไม่ได้เป็นการส่งการวิ่งที่ชัดเจนมากพอทำให้ผู้แข่งขันต้องคอยคำนวณระยะทางวิ่งด้วยตัวเอง และไม่ได้มีระบบที่ทำไว้ติดตามความเห็นต่างๆจากผู้ใช้ในระหว่างการแข่งขัน เพราะสิ่งนั้นเลยทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจยังไม่ได้รับประสบการณ์วิ่งที่ดี จึงไม่ได้เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร
ปัจจุบัน Virtual Run นั้นมีความพิเศษและแตกต่างจากรูปแบบก่อนๆเป็นอย่างมาก ด้วยการนำปัญหาในการแข่งขัน Virtual Run แบบเดิมๆที่เคยมีมา มาพัฒนาและปรับปรุง ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการพัฒนาระบบส่งผลสถิติการวิ่งที่ชัดเจน และมีกติกาในรูปแบบการแข่งขันที่เหมือนจริงหรือใกล้เคียงกับงานจัดแข่งมาราธอนในสถานที่จริง
ต้องยอมรับเลยว่าเทคโนโลยีจาก Virtual Run นั้นเหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ไม่สะดวกเดินทางไกล และต้องการความสะดวกสบายต่อตนเอง ทำให้เหล่าคนรักสุขภาพมีความท้าทายและตื่นเต้นในแบบฉบับของตน รู้สึกเหมือนได้ลงแข่งวิ่งมาราธอนในโลกเสมือนจริงอีกด้วย
จริงๆแล้ว "จุดกำเนิด" Virtual Run นั้นเริ่มมาจากช่วงปี 2005-2006 โดยมีดีลธุรกิจอยู่หนึ่งดีลที่ทั้งโลกจับตามองนั่นคือ การเจอกันระหว่าง Apple กับ Nike ภายใต้วิสัยทัศน์ที่เฉียบแหลมของสตีฟ จ็อปส์ ที่มีนวัตกรรมตู้เพลงจิ๋วเคลื่อนที่อย่าง iPod ส่วน Nike ขณะนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของ มาร์ค ปาร์คเกอร์ซีอีโอสมองเพชรที่เป็นอดีตนักวิ่งมาราธอน
สตีฟ จ็อปส์ผู้ซึ่งหวังให้ไอพ๊อดเป็นไลฟ์สไตล์โปรดักซ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ ส่วนด้านไนกี้ผู้นำตลาดรองเท้ากีฬา ก็สนใจการซื้อซ้ำของผู้บริโภค ซึ่งพวกเขาต้องมีเครื่องมือสำหรับการมัดใจผู้บริโภค โดยทั้งคู่นั้นใช้เวลาคิดค้นอยู่พักใหญ่ เพื่อต้องการมัดใจผู้บริโภคของพวกเขา จนต่อมาวันหนึ่งใครคนใดคนหนึ่งเกิดค้นคิดไอเดีย เรื่องฟังเพลงระหว่างวิ่งและจับระยะทาง
พวกเขาได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบ Nike นำเซนเซอร์ขนาดเท่าปลายนิ้วโป้งไปติดตั้งไว้ในรองเท้ามันทำหน้าที่เป็นไวเลสทรานมิสเตอร์ ที่สื่อสารและบันทึกข้อมูลระยะทาง อัตราความเร็ว (pace) คำนวณพลังงานที่เผาผลาญ (Kcal) มาโชว์บนหน้าปัด iPod และเนื่องด้วยสถานการณ์ในตอนนั้นมีข้อมูลรายงานว่าแอปฯ Nike+ ครองสถิติผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงปี 2013 ถึง 28 ล้านคน ! อยู่แล้วด้วย จนถึงปัจจุบันนี้หลาย ๆคนคงเคยผ่านการใช้ iPod Nano ,iPod Touch ที่มี Nike+ กันมาบ้างแล้ว
ย้อนกลับไปในวันเปิดตัวตอนเดือนพฤษภาคมปี 2006 บนเวทีมีทั้งสตีฟ จ็อปส์ , มาร์ค ปาร์คเกอร์ และยอดนักกีฬาแห่งยุคนั้นอย่างพอลล่า แรดคลิฟฟ์ แลนซ์ อาร์มสตรอง มาสาธิตการทำงาน แน่นอนว่า ไนกี้มียอดขายเพิ่มสูงขึ้นเพราะคู่แข่งไม่มีเจ้าสิ่งนี้พื้นชั้นในรองเท้าวิ่งไนกี้รุ่นลูน่า ที่ออกมาในช่วงปีนั้น เจาะวงรีเอาไว้ใส่ Nike+Sensor และโดยเฉพาะแอปเปิลเองก็ได้อนิสงส์ไปเต็มๆ เพราะขายเพลงผ่านไอจูนส์ได้ดีไปควบคู่กัน
นี่แหละครับที่โยงเข้าสู่ Virtual Run คอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา เพราะนักวิ่งต้องนำข้อมูลมาซิงค์ “เก็บระยะ” ผ่านแอปฯ Nike+ ทำให้รู้ว่าการวิ่งครั้งล่าสุด ทำระยะสะสมไปได้เท่าไหร่ และต่อมาได้มีฟีเจอร์พิเศษตั้งกรุ๊ปแข่งขัน เพื่อทำให้เห็นสถิติการวิ่งของเพื่อน ในช่วงยุคที่นาฬิกาGPS ยังไม่แพร่หลายอย่างทุกวันนี้และช่วงนั้นแอปฯที่จับระยะวิ่งอย่าง Strava กับ Endomondo ก็เพิ่งเริ่มได้ก่อตั้งขึ้นมา
ระบบของ Nike+ Sensor ในยุคแรกไม่ได้ใช้เทคโนโลยีGPSที่ประสานข้อมูลจากดาวเทียม แต่เป็นการนับระยะการก้าว เพราะแบบนั้นเลยทำให้มีโอกาสที่ 1 กิโลเมตรของนักวิ่งแต่ละคนจะสั้น-ยาวแตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นการวิ่งแต่ละครั้งยังมีโอกาสที่ซิงค์ไม่เข้า ซิงค์ไม่สำเร็จ “การวิ่งครั้งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นหากบันทึกไม่สำเร็จ” วิ่งมา 15 กิโลเมตร แล้วซิงค์ไม่ได้ มันน่าเจ็บใจมากเลยใช่ไหมล่ะครับ
แต่ในส่วนหน้าแดชบอร์ดรวมของเว็บ Nike+ เองที่ทำให้เห็นกิจกรรมการวิ่งสะสมระยะทางจากต่างสถานที่ ต่างเวลา ของเพื่อนๆ เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นโลกเสมือนที่น่าตื่นตาตื่นใจได้เห็นอันดับของคุณบนตาราง จะยิ่งทำให้มีผลต่อความขยันในการวิ่ง และทุกครั้งที่คุณซิงค์ข้อมูลเข้าไป แต่ละครั้งเราได้นำระยะทาง 7 บ้าง 10 บ้าง หรือ 12 กิโลเมตรบ้างตามที่คุณวิ่งไปก็จะแสดงบนตาราง
เราก็จะได้เห็นการขยับอันดับแซงเพื่อนนักวิ่งท่านอื่นไปแต่พอเย็นอีกวัน เพื่อนท่านนั้นก็วิ่งนำระยะมาปาดแซงคืน ทำให้เราเกิดแรงขับที่จะวิ่งเก็บระยะ และอยากจะเป็นผู้นำในตารางนั้นให้ได้ ต่อมาความเป็นไปทางเทคโนโลยี ได้ส่งนาฬิกา GPS รุ่นแล้วรุ่นเล่าออกมา ทางด้านสมาร์ทโฟนก็เก่งขึ้น ส่วนทางด้าน Nike+ ก็ได้ได้พัฒนาเป็นแอปฯ ที่นักวิ่งดาวน์โหลดไปใช้ได้เลยฟรีๆ
ทุกอย่างเป็นดิจิทัลฉับไว แม่นยำ ไม่ก้ำกึ่งอนาล็อกแบบช่วง Nike+iPod จึงทำให้มีสนาม Virtual Run เกิดขึ้นมาอย่างมากมายจนถึงปัจจุบัน และนอกจากรูปแบบการแข่งขันในแบบชำระเงิน แข่งขันได้รับรางวัลแล้ว ยังสามารถใช้เป็นวิธีการสร้างแผนฝึกพัฒนาการวิ่งของตัวเองในรูปแบบฟรีได้ตามความเหมาะสมของคุณ
มีอิสระในเรื่องของเวลาและสถานที่ในการวิ่ง สามารถจัดการรูปแบบการวิ่งให้ง่ายกับวิถีชีวิตตัวเอง ไม่ต้องวิ่งเบียดกับคนอื่น และยังได้รับรางวัลหลังจบ Challenge ที่เลือกไว้เหมือนกัน ราวกับว่าได้ลงแข่งขันงานวิ่งมาราธอนจริง ๆ
ในส่วนของแพลตฟอร์มมีการจัดอันดับแข่งกับเพื่อนๆ ที่ลงสมัครแข่งใน Challenge เดียวกัน ทำให้คนที่รู้สึกไม่อยากออกไปวิ่งและไม่มีกำลังใจวิ่งนั้น มีแรงผลักดันในการที่จะทำสถิติของตัวเองให้ดีขึ้น เพื่อแข่งขันกับเพื่อนๆใน Challenge นั้น และการวิ่งทุกครั้งของคุณที่มีการจ่ายชำระเงินไป ยังมีส่วนในการบริจาคทำบุญช่วยเหลือคนอื่นด้วย
แต่ไม่ใช่เพียงแค่นี้ ดูเหมือนว่า Virtual Run นั้นจะดูดีไปหมดแต่ในความจริงแล้ว ข้อเสียของ Virtual Run ก็มีเช่นกัน
การวิ่งแบบนี้ยังขาดบรรยากาศการวิ่งแข่งขันจริงเทียบได้เหมือนการเข้าไปดูคอนเสริต์แบบ Live ที่จะให้ความรู้สึกต่างกัน รวมไปถึงของกินอร่อยๆที่รออยู่เส้นชัยหรือน้ำที่วางอยู่ตามทาง โดยคุณนั้นต้องจัดเตรียมของคุณเอง นอกจากนั้น ยังต้องอาศัยความซื่อสัตย์ของตัวนักวิ่งสูง เพราะการที่สามารถ วิ่งที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้นั้น คุณจะต้องมีวินัยสูงและกระตุ้นตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้จบระยะ Challenge ให้ได้ผลดีนั่นเอง
และแน่นอนว่าถึงจะมีการจัดอันดับแข่งกับเพื่อนๆบนแพลตฟอร์ม จริงๆแล้วคุณก็ไม่ได้ออกไปวิ่งกับใครอยู่ดี ทำให้เราขาดสังคมกับภายนอก สำหรับคนที่ชอบความตื่นเต้น ชอบทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ และชอบสีสันในงานวิ่งต่างๆ Virtual Run จึงไม่ตอบโจทย์กับคนเหล่านี้
จริงๆแล้วมีแอปพลิเคชั่นอยู่มากมาย...แต่จะยกตัวอย่างแอปฯที่ใช้งานฟรี และดี จนต้องบอกต่อให้นะครับ
เป็นแอปคู่หูของนักกีฬาที่จริงจังกับการออกกำลังกายระดับมืออาชีพ มีการเก็บข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียด และรองรับทั้งการวิ่งและการปั่นจักรยาน จุดเด่นที่นักวิ่งชอบ Strava ก็คือ มีระบบเว็บไซต์ที่ค่อนข้างดี ฟีเจอร์ครบ สามารถใส่รายละเอียดของ Activity ได้เยอะ เช่นรองเท้าที่ใช้ในการวิ่งแต่ละครั้ง (ตรงนี้สามารถทำให้เราประเมินความเสื่อมของรองเท้าที่ใช้ได้) ระบบหลังบ้านของ Strava จะรองรับการ Sync ข้อมูลจากหลายอุปกรณ์ด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา GPS รุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ หรือแอพของค่ายอื่น ๆ ก็สามารถ Sync ข้อมูลการวิ่งมาบันทึกเข้ากับเว็บของ Strva ได้หมด
-Tracking GPS บันทึกระยะการวิ่งและปั่นจักรยาน
-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ
-มี Challenge คล้ายๆเป็นภารกิจให้เล่นในแต่ละเดือน
-สามารถ Upload Activity ที่เป็นไฟล์มาตรฐานของการบันทึกออกกำลังกาย
-ระบบโค้ชส่วนตัว แนะนำโปรแกรมการวิ่ง (Premium)
-ดูเพื่อนวิ่งแบบ Live (Premium)
-มีแอปบน Apple Watch และรองรับ watchOS2
แอปนี้เป็นคู่ฝึกวิ่งที่สมบูรณ์แบบเลยทีเดียว เหมาะกับนักวิ่งมือใหม่ที่กำลังหาแอปดีๆที่เป็นตัวช่วยในการบันทึกการวิ่ง เพราะแอปนี้จะติดตามการความก้าวหน้าทุกรายละเอียดตั้งแต่ pace ทำให้สามารถดูข้อมูลระหว่างวิ่งได้ ภายในแอปยังมีโค้ชส่วนตัวของ Nike+ ช่วยวางแผนการฝึกซ้อมไว้ให้เสมอ ไม่ว่าอยากจะทำอะไร แอปจะปรับเปลี่ยนแผนการซ้อมตามเป้าหมายและสภาพร่างกายปัจจุบัน แผนการซ้อมจะอัปเดตและปรับตามเพื่อช่วยให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแชร์การวิ่ง เปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อน ๆ โพสการวิ่งได้เองโดยการเพิ่มรูปถ่าย สถิติ และสติกเกอร์ และยังสามารถกำหนดได้ว่าใครจะได้รับโพสบ้างอาจเป็นเพื่อนในเครือข่ายโซเชียล หรือแค่เพื่อน ๆ ใน Nike+ เท่านั้นระยะทาง เส้นทาง ไปจนถึงสถิติส่วนตัวด้วยความแม่นยำ
-Tracking GPS บันทึกระยะการวิ่ง
-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ
-Nike+ Coach ระบบเทรนเนอร์ส่วนตัว คอยแนะนำโปรแกรมการวิ่งที่เหมาะกับเรา
-รองรับการใช้งานบน Apple Watch
สำหรับนักวิ่งที่มีประสบการณ์ระดับนึงแล้วก็น่าจะเคยเห็นแอพนี้ผ่านตาอยู่บ่อยครั้ง เพราะ Endomondo เป็นแอพที่มีชื่อเสียงในเรื่องของ Community มาก เรียกว่าเป็นแอพที่นักวิ่งหลายๆคนมาร่วมทำกิจกรรมกันบน Endomondo รองรับกีฬาอื่นๆมากกว่า 40 ชนิดกีฬา เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน สกี ว่ายน้ำ เป็นต้น ฟีเจอร์เด่นของแอปนี้คือการสร้าง Challenge สำหรับการทำกิจกรรม เหมาะกับคนที่อยากได้รับความตื่นเต้นอยู่ตลอด อยากรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆทาง Social Network
ซึ่งตรงนี้ทำให้ Endomondo เป็นแอพออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมสูงอีกตัวหนึ่ง นักวิ่งมือใหม่หลายๆคนอาจจะใช้แอพตัวอื่นกันมาก่อน แต่พอเริ่มมีสังคมของนักวิ่งก็เริ่มเปลี่ยนใจมาใช้ Endomondo กัน
-บันทึกการทำกิจกรรมได้หลากหลายประเภทกีฬา
-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ
-สามารถสร้าง Challenge และชวนเพื่อนๆมาร่วมเล่น
-ดูเพื่อนวิ่งแบบ Live
-ระบบโค้ชส่วนตัว แนะนำโปรแกรมการวิ่ง (Premium)
-รองรับการใช้งานบน Apple Watch แต่ยังไม่เป็น Native App
เป็นอีกแอปที่น่าสนใจมาก ถึงแม้จะเป็นแอปน้องใหม่ที่ออกมาทีหลัง แต่ก็ได้รับความนิยมในหมู่นักวิ่งไม่น้อยเหมือนกัน ฟีเจอร์ของแอปตัวนี้ เรียกว่าออกแบบมาสำหรับเพิ่มความบันเทิงในการวิ่งโดยเฉพาะ ทั้งในเรื่องของข้อมูลที่บอกออกมาเป็นเสียง การจัด Playlist เพลง ระบบ Community ที่มีการเปรียบเทียบกับเพื่อน หรือการเชียร์เพื่อนๆ ข้อมูลที่เก็บและแสดงผล ทั้งบนแอพและบนเว็บไซต์ไม่ได้มีข้อมูลที่เป็นเชิงลึกมากนัก เลยอาจทำให้ไม่ถูกใจสำหรับนักวิ่งมือเก๋ามากนัก แต่ก็ทำให้ตัวระบบดูไม่เยอะ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
-บันทึกการทำกิจกรรมได้หลากหลายประเภท
-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ
-ระบบ Race ทำภารกิจในแต่ละสัปดาห์
-ระบบโค้ชส่วนตัว แนะนำโปรแกรมการวิ่ง
-มีแอปบน Apple Watch และรองรับการทำงาน watchOS 2 บน Apple Watch
ป็นแอปที่ระบบเว็บหลังบ้านดูได้ค่อนข้างละเอียด แต่ใช้งานค่อนข้างยากไม่ค่อยเหมาะสำหรับมือใหม่เท่าไหร่ แถมยังมีแบนเนอร์โฆษณาแปะเต็มไปหมด จุดเด่นของ Runtastic คือระบบดูการวิ่งแบบ Live บนเว็บไซต์ที่ทำได้ดีมาก ถ้าเรา Sync ไว้กับ Account บน Facebook ทุกครั้งที่กดเริ่ม ระบบจะแชร์ Link สำหรับดู Live ให้เพื่อนกดดูการวิ่งของเราได้แบบสดๆเลย นอกจากนี้ Runtastic ยังมีแอปที่ช่วยออกกำลังกายเฉพาะด้านอื่น ๆ อีกหลายตัวทำแยกออกมา เช่น Road Bike, Mountain Bike, Pedometer, Push-Ups และอื่น ๆ อีกมากมาย มีแอปที่คอยช่วยในการออกกำลังกายแล้ว ยังขาย Gadget ด้านออกกำลังกายต่าง ๆ เช่น Sport Gear อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นทั้งนาฬิกา GPS, สายคาดอก Heart Rate Monitor, เครื่องช่างน้ำหนัก เรียกว่าถ้าค่ายนี้มีอุปกรณ์ด้านออกกำลังกายแบบครบวงจรจริง ๆ
-Traching GPS บันทันระยะวิ่ง
-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ
-มี Challenge คล้ายๆเป็นภารกิจให้เล่นในแต่ละเดือน
-ดูเพื่อนวิ่งแบบ Live
-ระบบโค้ชส่วนตัว แนะนำโปรแกรมการวิ่ง (Premium)
-รองรับ watchOs 2 บน Apple Watch
แอปพลิเคชั่นนี้มีผู้ใช้มากถึง 50 กว่าล้านคน สามารถดูการวิ่งของเราอัพเดทระยะทางที่วิ่งแบบเรียลไทม์ เช็คจำนวนก้าววิ่ง และยังสามารถเก็บประวัติการวิ่งของเรา เพื่อช่วยให้วางแผนการวิ่งได้ดีขึ้น แถมยังสามารถโพสต์ผลงานที่เราทำได้ในแต่ละวันลงโซเชียลได้อีกด้วย จุดเด่นของแอปนี้ยังลงลึกไปถึงการแนะนำโภชนาการว่าควรรับประทานอะไร ปริมาณเท่าไหร่ ไปจนถึงควรดื่มน้ำกี่แก้วในแต่ละวัน แอปนี้จึงเหมาะกับนักวิ่งโดยทั่วไป
- ค้นหาเส้นทางการวิ่งได้
- ติดตามตำแหน่ง GPS ขณะวิ่งได้
- บันทึกเส้นทางการวิ่ง และสถิติได้แบบเรียลไทม์
- นับก้าวต่อนาที ตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ
- เชื่อมต่อกับรองเท้า Under Armour Smart Shoes ที่มีชิพซิงก์ เพื่อจับระยะการวิ่งของคุณได้
- เลือกประเภทกิจกรรมได้ เช่น วิ่ง จักรยาน เดินออกกำลังกาย โยคะและกีฬาประเภทอื่น ๆ
สำหรับใครก็ตามที่อยากทดลองและเปิดประสบการณ์การวิ่งแบบใหม่ให้กับตัวเอง เราขอแนะนำแอปพลิเคชั่น WIRTUAL
“WIRTUAL” คือ แอปพลิเคชั่นการวิ่งแข่งขันออนไลน์รูปแบบใหม่ที่ให้คุณนั้นสามารถ วิ่งที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ตามที่สะดวก แถมยังสามารถวิ่งบนลู่วิ่งที่บ้านได้อีกด้วย โดยคุณนั้นต้องมีอุปกรณ์จับเวลา ระยะทางและสัญญาณ GPS จะด้วยนาฬิกา หรือ ผ่านแอปต่างๆบนโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถอัพโหลดเข้าแอปได้ เพื่อเป็นการแข่งขันกับเพื่อนๆบนแพลตฟอร์มนั้นๆ
มี Challege มากมายให้เลือกลงสมัครการวิ่ง โดย Challenge ต่างๆจะหน้าตาแตกต่างกันไป และของรางวัลก็จะเข้ากับแคมเปญนั้นๆ ซึ่งทำออกมาได้น่ารัก และสวยงามมาก ให้ความรู้สึกตื่นเต้นและมีกำลังใจในการวิ่ง เสมือนลงแข่งในงานวิ่งจริงๆ
เมื่อคุณได้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น WIRTUAL เรียบร้อยแล้วคุณสามารถสมัคร Challenge ที่สนใจได้ง่ายๆ เพียงแค่ 5 ขั้นตอนดังนี้
สามารถดาวน์โหลดฟรีได้ทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการ IOS และ Andriod
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถสนุกกับกิจกรรมวิ่งมาราธอนบน WIRTUAL ได้ทันที !
การวิ่งรูปแบบ Virtual Run ได้เข้ามาทำให้วงการการวิ่งมีสีสันและน่าตื่นเต้น แถมยังเป็นตัวช่วยในเรื่องของความสะดวกสบาย สามารถทำให้นักวิ่งปรับรูปแบบการวิ่งให้เข้ากับวิถีชีวิต ทำให้มีอิสระในเรื่องเวลาและสถานที่ในการวิ่ง มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งได้แม้จะอยู่ที่ไหนก็ตาม แถมยังได้รางวัลอีกด้วย ให้ความรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในงานวิ่งมาราธอนจริงๆ
สำหรับใครที่สนใจอยากจัดกิจกรรม Virtual Run และกิจกรรมประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้น หรือฟิตเนส สามารถคลิกที่นี่เพื่อติดต่อทีมงานของเราได้เลย