เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บนั้นควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากใครก็ตามที่ป่วยเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงมากจนกระทั่งถึงขั้นร้ายแรงนั้น อาจทำให้ต้องเสียเวลาจากการทำธุระต่างๆเพื่อต้องไปรักษา แต่ในกรณีที่แย่กว่านั้นคือโรคเล็กๆน้อยๆที่มองข้ามไปอาจส่งผลไม่ดีต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึงก็ได้
ซึ่งแต่ละโรคนั้นมีอาการและการรักษาที่แตกต่างกันไป และวันนี้เราจะมาพูดถึงอาการของ “ไส้เลื่อน” ที่เป็นข้อสงสัยกันมาอย่างยาวนานว่าสาเหตุที่แต่ละคนเป็นนั้นเพราะอะไร หรือคุณเองอาจจะเข้าใจผิดมาตลอดว่าการกระทำบางอย่างนั้นก่อให้เกิดภาวะไส้เลื่อนนี้
ทีนี้เรามาดูกันครับว่าสิ่งที่ใครๆต่างก็บอกกันในเรื่องของการเป็นไส้เลื่อนเกิดจาก การวิ่ง การออกกำลังกายชนิดอื่นๆ การไม่ใส่กางเกงใน หรือไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะเป็นจริงแบบที่คิดหรือไม่ ? มาไขข้อข้องใจกันได้ในบทความนี้เลยครับ
สิ่งที่ก่อให้เกิดอาการของไส้เลื่อนนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยมีสาเหตุจาก ผนังหน้าท้องบางจุดมีความอ่อนแอหรือหย่อนผิดปกติ อาการนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกันตั้งแต่กำเนิด จึงทำให้ลำไส้ใหญ่นั้นได้เคลื่อนไปยังจุดต่างๆ
และอาการของไส้เลื่อนนั้นเกิดได้หลายจุดมากไม่ว่าจะเป็น ช่วงกระบังลมภายในท้อง ขาหนีบ สะดือ และผู้ที่เคยผ่าตัดบริเวณช่องท้องมาก่อน โดยจะมีก้อนปูดๆออกมาตามจุดที่อ่อนแอ และแต่ละจุดที่อยู่ข้างในก็จะมีอาการที่ต่างกัน
หากใครที่ผนังหน้าท้องไม่ได้มีความผิดปกติตั้งแต่เกิด ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นไส้เลื่อนได้เช่นกัน เพราะการกระทำเหล่านี้ที่อาจก่อให้เกิดไส้เลื่อนได้ เช่น การจามไอเรื้อรัง เบ่งถ่ายอุจจาระ ยกของหนัก ร้องไห้ โรคถุงลมโป่งพอง หรือต่อมลูกหมาก สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น
สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากขึ้นไปยิ่งกว่าเดิมนั้นก็คือเรื่องของภาวะแทรกซ้อนของไส้เลื่อน โดยภาวะแทรกซ้อนของไส้เลื่อนที่พบได้บ่อยจะเกิดจากผู้ที่เป็นไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบและบริเวณถุงอัณฑะ เพราะบางครั้งไส้เลื่อนอาจติดค้างอยู่ที่ขาหนีบและถุงอัณฐะได้
หรือเป็นสาเหตุที่เรียกว่า “ไส้เลื่อนชนิดติดคา” ซึ่งจะทำให้เกิดอาการของภาวะลำไส้อุดตันได้ อาจทำให้ผู้ป่วยปวดท้องและอาเจียนขั้นรุนแรงได้ หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะทำให้ลำไส้ส่วนที่ตกค้างอยู่ถูกบีบรัดจนบวมและขาดเลือดไปเลี้ยง จะทำให้ลำไส้เน่าไปในที่สุด
หรือที่เรียกกันว่าอาการของ “ไส้เลื่อนถูกบีบรัด” จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องขั้นรุนแรง หากรักษาด้วยการผ่าตัดไม่ทัน ลำไส้ที่เน่าตายจะเกิดการทะลุจนกลายเป็นเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เชื้อโรคภายในลำไส้ก็จะกระจายไปทั่วท้องจนเข้าสู่กระแสเลือด และมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้
คำตอบก็คือ “ไม่” ดังนั้นหากใครที่คิดว่าการวิ่งทำให้เป็นไส้เลื่อนได้ ลบความคิดนั้นไปได้แล้วครับ แล้วมาเริ่มทำความเข้าใจกันใหม่ เพราะอาการของไส้เลื่อนเกิดจากผนังหน้าท้องภายในอ่อนแอทำให้ลำไส้ขยับไหลออกมายังจุดต่างๆนั่นเอง
ดังนั้นสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการไส้เลื่อนได้นั้นจะไม่เกี่ยวกับภายนอกเลย การวิ่งนั้นจึงไม่สามารถทำให้แรงดันในท้องเพิ่มขึ้น เพราะไม่ได้ใช้พละกำลังที่หนักจนเกินไป และไม่ได้มีการกระทำที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นได้ แบบที่กล่าวไปข้างต้นในหัวข้อข้างบน
แต่ผลตอบรับที่ได้จากการวิ่งก็คือตรงข้ามกับสิ่งที่คุณคิดไปโดยสิ้นเชิง เพราะการวิ่งจะทำให้ผนังหน้าท้องแข็งแรง และระบบขับถ่ายดีด้วย แถมยังเป็นเหมือนภูมิต้านทานที่ทำให้ไม่เป็นไส้เลื่อนได้ง่าย
ดังนั้นต่อให้คุณเป็นนักมาราธอนที่ต้องฝึกซ้อมบ่อยๆ และต้องวิ่งระยะไกลโหดมากแค่ไหน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องของไส้เลื่อนกับการวิ่งเลยครับ
คำแนะนำเพิ่มเติม
สำหรับใครก็ตามที่คิดว่าการไม่ใส่กางเกงในก็ส่งผลให้เป็นไส้เลื่อนได้ "ก็ไม่จริงเช่นกันครับ" เพราะสาเหตุเดียวกันกับการวิ่งเลย แต่สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในการออกกำลังกายก็คือ จะต้องไม่ออกกำลังกายชนิดที่หนักเกินไป
เช่น เล่นเวทยกน้ำหนัก และเวทช่วงขา หรือการทุ่มน้ำหนัก ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการยกของหนักเลย จะทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คือตรวจเช็คสภาพร่างกายของตัวคุณเองเสียก่อน จะได้ไม่พะวงหน้าพะวงหลังเวลาจะทำอะไร ป้องกันไว้ก่อนดีกว่ามาแก้ทีหลังครับ
ในภาวะนี้ยังไม่มีวิธีที่จะป้องกันให้ไม่เกิดอาการไส้เลื่อนได้ มีเพียงแต่สิ่งที่ลดปัจจัยความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อน หากไม่ได้เป็นหนักจนถึงขั้นปวดรุนแรง ก็สามารถรักษาป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการยกของหนักเพื่อที่ไม่ให้เกิดแรงดันในช่องท้อง
สำหรับการไอจามเรื้อรังสามารถแก้ที่ต้นเหตุได้คือ การงดสูบบุหรี่และรักษาวัณโรค รวมถึงเรื่องของการเบ่งปัสสาวะ-อุจจาระ ไม่ควรเบ่งเป็นเวลานาน ควรดื่มน้ำและกินผักเส้นใย เพื่อเป็นตัวช่วยในการขับถ่ายออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น
หรือหากถึงขั้นที่ต้องผ่าตัดแล้ว สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะมี 2 วิธีด้วยกัน คือ การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง และ การผ่าตัดแบบผ่านกล้อง มีการรักษาที่ต่างกันดังนี้
1.การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง - การผ่าตัดแบบนี้ช่วยซ่อมแซมไส้เลื่อน มีการทำร่วมกับเสริมความแข็งแรงของผนังหน้าท้องและเย็บ หรือใช้ตาข่ายเสริมความแข็งแรง โดยจะกรีดแผลตามขาหนีบ ซึ่งการผ่าตัดแบบดั้งเดิมนี้จะมีข้อดีโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ เหมาะกับคนมีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถดมยาสลบและบล็อคหลังได้
2.การผ่าตัดแบบผ่านกล้อง - การผ่าตัดแบบนี้จะรบกวนเนื้อเยื้อน้อยกว่า และลดการเกิดพังผืดในช่องท้อง จะมีอาการปวดหลังการผ่าตัด แต่เกิดอาการแทรกซ้อนได้ยาก สามารถซ่อมแซมไส้เลื่อนทุกชนิดในข้างเดียวกันในการผ่าตัดครั้งเดียวกันด้วย การสอดกล้องจะทำให้ฟื้นตัวเร็ว เพียงพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1-2 วันก็กลับบ้านได้แล้ว บางคนผ่าตัดได้ 1 สัปดาห์ก็สามารถใช้ชีวิตปกติได้ เล่นกีฬาได้
ถึงแม้ว่าบทความนี้จะเน้นไปทางผู้ชาย แต่กับผู้หญิงนั้นก็สามารถเป็นไส้เลื่อนได้เช่นกัน เพียงแค่ส่วนใหญ่แล้วจะพบเจอกับร่างกายของผู้ชายได้มากกว่า แต่ไม่ต้องตกใจไปครับ เราได้ไขข้อข้องใจกันไปแล้ว เพียงแต่ขอให้คุณผู้ชายที่ใช้ร่างกายหนักไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากคุณไม่ได้เป็นตั้งแต่กำเนิด คุณก็สามารถเป็นได้จากการที่ใช้ร่างกายหักโหมตามที่ได้บอกไปข้างต้น ดังนั้นป้องกันไว้ก่อนดีที่สุดครับ