ทำไม Virtual Run ถึงเป็นตัวเลือกที่จะเปิดประสบการณ์การวิ่งในรูปแบบใหม่?

October 26, 2023

Virtual Run หนึ่งในเทคโนโลยีของโลกกีฬาที่เข้ามาสร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วสงสัยกันไหมว่า เทคโนโลยีที่มาขับเคลื่อนในวงการวิ่งอย่าง Virtual Run เนี่ยทั้งหมดทั้งมวลแล้วคืออะไรและมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง

เพราะจริงๆแล้ว ปัญหาส่วนใหญ่ของนักวิ่งมือใหม่หรือนักวิ่งมาราธอนนั้นคือ ไม่ค่อยมีเวลาว่าง สถานที่จัดงานวิ่งไกล เดินทางไม่สะดวก หรือเหตุผลอื่นๆอีกมากมาย ที่ทำให้ไม่สะดวกไปตามงานวิ่งแบบคนอื่นๆ จึงทำให้ต้องหาวิธีอื่น เพื่อที่จะได้ใช้เวลาที่เหมาะสมและง่ายต่อการวิ่งของตนเอง

ทำไม Virtual Run ถึงได้รับความนิยม

ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาจนเป็นระบบ Virtual Run ได้สร้างความสะดวกสบายเป็นอย่างมากให้กับนักวิ่งทุกคน เพราะไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน หรือว่างเมื่อไหร่ คุณก็สามารถเข้าร่วมการวิ่งได้ หรือถ้าไม่สะดวกออกไปวิ่งที่อื่นจริงๆ คุณก็ยังสามารถวิ่งบนลู่วิ่งที่บ้านได้อีกด้วย เพียงแค่คุณมีอุปกรณ์บันทึกจับเวลา ระยะทางและสัญญาณ GPS จะด้วยนาฬิกา หรือ ผ่านแอปต่างๆ 

หลังจากที่ทั่วโลกพบเจอกับสถานการณ์โรคระบาดจาก Covid-19 ยิ่งทำให้ Virtual Run ตอบโจทย์กับนักวิ่งมากขึ้น เพราะธุรกิจการกีฬา งานจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องถูกยกเลิกหรือเลื่อนไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ซึ่งก็ต้องพูดเลยว่างานจัดวิ่ง “มาราธอน"นั้นก็รับผลกระทบไปอย่างเต็มๆ อย่าว่าแต่ไม่มีที่ใดจัดงานวิ่งเลยครับ แม้แต่จะออกไปเจอผู้คนตามที่ต่างๆก็ไม่อยากจะออกแล้ว ถึงเวลามาทำความรู้จักกับ Virtual Run ให้มากขึ้นแล้วในบทความนี้

Virtual Run คืออะไร ?

Virtual Run คือแพลตฟอร์มการวิ่งออนไลน์รูปแบบใหม่ในวงการกีฬา ที่ใช้จัดกิจกรรมกับการวิ่งมาราธอนในรูปแบบออนไลน์หรือเรียกได้อีกชื่อนึงก็คือ Virtual Race สามารถสะสมระยะวิ่ง เวลาไหนก็ได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ในเส้นทางที่ผู้วิ่งสามารถเป็นคนกำหนดเอง และสามารถได้รับของรางวัลเหมือนกัน ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในงานมาราธอนจริงๆ แม้จะวิ่งอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม

และที่น่าตื่นเต้นไปกว่านั้น บนแพลตฟอร์มยังเป็นรูปแบบการ"จัดอันดับการวิ่ง"ในแต่ละ Challenge เพื่อบันทึกเวลาและระยะวิ่งที่วิ่งได้ แข่งขันกับเพื่อนๆ ใน Challenge เดียวกัน เหมือนเป็นการผลักดันและฝึกซ้อมให้กับตัวคุณเองด้วย

และในกิจกรรมการวิ่งแบบ Virtual Run นี้ยังมีการนำการกุศล หรือ CSR เข้ามาร่วมด้วย ทุกๆครั้งที่คุณได้เลือกลงแข่งในแคมเปญนั้นๆ จะต้องชำระเงินตามที่กำหนดในระยะทางที่คุณอยากลงวิ่ง เงินที่คุณชำระไปมีการหักค่าใช้จ่ายสำหรับการกุศลในการทำบุญต่างๆอีกด้วย แล้วแต่ว่าผู้จัดนั้น จะมีการเอาเงินที่หักจำนวนนั้นไปทำบุญในรูปแบบไหน

จริงๆแล้วการวิ่งแข่งขันในรูปแบบ Virtual Run ก็เคยถูกจัดขึ้นในบ้านเรามานานแล้ว แต่อาจจะไม่ได้รับความนิยมมากพอ คงเป็นเพราะระบบของการส่งผลการวิ่งที่ทำได้แค่ส่งผ่านให้ผู้จัดงานผ่านแอปพลิเคชั่น Line ดูเหมือนไม่ได้เป็นการส่งการวิ่งที่ชัดเจนมากพอทำให้ผู้แข่งขันต้องคอยคำนวณระยะทางวิ่งด้วยตัวเอง และไม่ได้มีระบบที่ทำไว้ติดตามความเห็นต่างๆจากผู้ใช้ในระหว่างการแข่งขัน เพราะสิ่งนั้นเลยทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจยังไม่ได้รับประสบการณ์วิ่งที่ดี จึงไม่ได้เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร

Virtual Run ในปัจจุบัน

ปัจจุบัน Virtual Run นั้นมีความพิเศษและแตกต่างจากรูปแบบก่อนๆเป็นอย่างมาก ด้วยการนำปัญหาในการแข่งขัน Virtual Run แบบเดิมๆที่เคยมีมา มาพัฒนาและปรับปรุง ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการพัฒนาระบบส่งผลสถิติการวิ่งที่ชัดเจน และมีกติกาในรูปแบบการแข่งขันที่เหมือนจริงหรือใกล้เคียงกับงานจัดแข่งมาราธอนในสถานที่จริง

ต้องยอมรับเลยว่าเทคโนโลยีจาก Virtual Run นั้นเหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ไม่สะดวกเดินทางไกล และต้องการความสะดวกสบายต่อตนเอง ทำให้เหล่าคนรักสุขภาพมีความท้าทายและตื่นเต้นในแบบฉบับของตน รู้สึกเหมือนได้ลงแข่งวิ่งมาราธอนในโลกเสมือนจริงอีกด้วย 

ความเป็นมาและจุดกำเนิดของ Virtual Run เริ่มจากไหนและเริ่มที่ใคร ?

ภาพจาก CNBC.com


จริงๆแล้ว "จุดกำเนิด" Virtual Run นั้นเริ่มมาจากช่วงปี 2005-2006 โดยมีดีลธุรกิจอยู่หนึ่งดีลที่ทั้งโลกจับตามองนั่นคือ การเจอกันระหว่าง Apple กับ Nike ภายใต้วิสัยทัศน์ที่เฉียบแหลมของสตีฟ จ็อปส์ ที่มีนวัตกรรมตู้เพลงจิ๋วเคลื่อนที่อย่าง iPod ส่วน Nike ขณะนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของ มาร์ค ปาร์คเกอร์ซีอีโอสมองเพชรที่เป็นอดีตนักวิ่งมาราธอน

สตีฟ จ็อปส์ผู้ซึ่งหวังให้ไอพ๊อดเป็นไลฟ์สไตล์โปรดักซ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ ส่วนด้านไนกี้ผู้นำตลาดรองเท้ากีฬา ก็สนใจการซื้อซ้ำของผู้บริโภค ซึ่งพวกเขาต้องมีเครื่องมือสำหรับการมัดใจผู้บริโภค โดยทั้งคู่นั้นใช้เวลาคิดค้นอยู่พักใหญ่ เพื่อต้องการมัดใจผู้บริโภคของพวกเขา จนต่อมาวันหนึ่งใครคนใดคนหนึ่งเกิดค้นคิดไอเดีย เรื่องฟังเพลงระหว่างวิ่งและจับระยะทาง 

พวกเขาได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบ Nike นำเซนเซอร์ขนาดเท่าปลายนิ้วโป้งไปติดตั้งไว้ในรองเท้ามันทำหน้าที่เป็นไวเลสทรานมิสเตอร์ ที่สื่อสารและบันทึกข้อมูลระยะทาง อัตราความเร็ว (pace) คำนวณพลังงานที่เผาผลาญ (Kcal) มาโชว์บนหน้าปัด iPod และเนื่องด้วยสถานการณ์ในตอนนั้นมีข้อมูลรายงานว่าแอปฯ Nike+ ครองสถิติผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงปี 2013 ถึง 28 ล้านคน ! อยู่แล้วด้วย จนถึงปัจจุบันนี้หลาย ๆคนคงเคยผ่านการใช้ iPod Nano ,iPod Touch ที่มี Nike+ กันมาบ้างแล้ว

ย้อนกลับไปในวันเปิดตัวตอนเดือนพฤษภาคมปี 2006 บนเวทีมีทั้งสตีฟ จ็อปส์ , มาร์ค ปาร์คเกอร์ และยอดนักกีฬาแห่งยุคนั้นอย่างพอลล่า แรดคลิฟฟ์ แลนซ์ อาร์มสตรอง มาสาธิตการทำงาน แน่นอนว่า ไนกี้มียอดขายเพิ่มสูงขึ้นเพราะคู่แข่งไม่มีเจ้าสิ่งนี้พื้นชั้นในรองเท้าวิ่งไนกี้รุ่นลูน่า ที่ออกมาในช่วงปีนั้น เจาะวงรีเอาไว้ใส่ Nike+Sensor และโดยเฉพาะแอปเปิลเองก็ได้อนิสงส์ไปเต็มๆ เพราะขายเพลงผ่านไอจูนส์ได้ดีไปควบคู่กัน

นี่แหละครับที่โยงเข้าสู่ Virtual Run คอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา เพราะนักวิ่งต้องนำข้อมูลมาซิงค์ “เก็บระยะ” ผ่านแอปฯ Nike+ ทำให้รู้ว่าการวิ่งครั้งล่าสุด ทำระยะสะสมไปได้เท่าไหร่ และต่อมาได้มีฟีเจอร์พิเศษตั้งกรุ๊ปแข่งขัน เพื่อทำให้เห็นสถิติการวิ่งของเพื่อน ในช่วงยุคที่นาฬิกาGPS ยังไม่แพร่หลายอย่างทุกวันนี้และช่วงนั้นแอปฯที่จับระยะวิ่งอย่าง Strava กับ Endomondo ก็เพิ่งเริ่มได้ก่อตั้งขึ้นมา

ระบบของ Nike+ Sensor ในยุคแรกไม่ได้ใช้เทคโนโลยีGPSที่ประสานข้อมูลจากดาวเทียม แต่เป็นการนับระยะการก้าว เพราะแบบนั้นเลยทำให้มีโอกาสที่ 1 กิโลเมตรของนักวิ่งแต่ละคนจะสั้น-ยาวแตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นการวิ่งแต่ละครั้งยังมีโอกาสที่ซิงค์ไม่เข้า ซิงค์ไม่สำเร็จ “การวิ่งครั้งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นหากบันทึกไม่สำเร็จ” วิ่งมา 15 กิโลเมตร แล้วซิงค์ไม่ได้ มันน่าเจ็บใจมากเลยใช่ไหมล่ะครับ

แต่ในส่วนหน้าแดชบอร์ดรวมของเว็บ Nike+ เองที่ทำให้เห็นกิจกรรมการวิ่งสะสมระยะทางจากต่างสถานที่ ต่างเวลา ของเพื่อนๆ เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นโลกเสมือนที่น่าตื่นตาตื่นใจได้เห็นอันดับของคุณบนตาราง จะยิ่งทำให้มีผลต่อความขยันในการวิ่ง และทุกครั้งที่คุณซิงค์ข้อมูลเข้าไป แต่ละครั้งเราได้นำระยะทาง 7 บ้าง 10 บ้าง หรือ 12 กิโลเมตรบ้างตามที่คุณวิ่งไปก็จะแสดงบนตาราง

เราก็จะได้เห็นการขยับอันดับแซงเพื่อนนักวิ่งท่านอื่นไปแต่พอเย็นอีกวัน เพื่อนท่านนั้นก็วิ่งนำระยะมาปาดแซงคืน ทำให้เราเกิดแรงขับที่จะวิ่งเก็บระยะ และอยากจะเป็นผู้นำในตารางนั้นให้ได้ ต่อมาความเป็นไปทางเทคโนโลยี ได้ส่งนาฬิกา GPS รุ่นแล้วรุ่นเล่าออกมา ทางด้านสมาร์ทโฟนก็เก่งขึ้น ส่วนทางด้าน Nike+ ก็ได้ได้พัฒนาเป็นแอปฯ ที่นักวิ่งดาวน์โหลดไปใช้ได้เลยฟรีๆ

ทุกอย่างเป็นดิจิทัลฉับไว แม่นยำ ไม่ก้ำกึ่งอนาล็อกแบบช่วง Nike+iPod จึงทำให้มีสนาม Virtual Run เกิดขึ้นมาอย่างมากมายจนถึงปัจจุบัน และนอกจากรูปแบบการแข่งขันในแบบชำระเงิน แข่งขันได้รับรางวัลแล้ว ยังสามารถใช้เป็นวิธีการสร้างแผนฝึกพัฒนาการวิ่งของตัวเองในรูปแบบฟรีได้ตามความเหมาะสมของคุณ 

ข้อดีและข้อเสียของ Virtual Run

ข้อดี

มีอิสระในเรื่องของเวลาและสถานที่ในการวิ่ง สามารถจัดการรูปแบบการวิ่งให้ง่ายกับวิถีชีวิตตัวเอง ไม่ต้องวิ่งเบียดกับคนอื่น และยังได้รับรางวัลหลังจบ Challenge ที่เลือกไว้เหมือนกัน ราวกับว่าได้ลงแข่งขันงานวิ่งมาราธอนจริง ๆ 

ในส่วนของแพลตฟอร์มมีการจัดอันดับแข่งกับเพื่อนๆ ที่ลงสมัครแข่งใน Challenge เดียวกัน ทำให้คนที่รู้สึกไม่อยากออกไปวิ่งและไม่มีกำลังใจวิ่งนั้น มีแรงผลักดันในการที่จะทำสถิติของตัวเองให้ดีขึ้น เพื่อแข่งขันกับเพื่อนๆใน Challenge นั้น และการวิ่งทุกครั้งของคุณที่มีการจ่ายชำระเงินไป ยังมีส่วนในการบริจาคทำบุญช่วยเหลือคนอื่นด้วย

แต่ไม่ใช่เพียงแค่นี้ ดูเหมือนว่า Virtual Run นั้นจะดูดีไปหมดแต่ในความจริงแล้ว ข้อเสียของ Virtual Run ก็มีเช่นกัน


ข้อเสีย

การวิ่งแบบนี้ยังขาดบรรยากาศการวิ่งแข่งขันจริงเทียบได้เหมือนการเข้าไปดูคอนเสริต์แบบ Live ที่จะให้ความรู้สึกต่างกัน รวมไปถึงของกินอร่อยๆที่รออยู่เส้นชัยหรือน้ำที่วางอยู่ตามทาง โดยคุณนั้นต้องจัดเตรียมของคุณเอง นอกจากนั้น ยังต้องอาศัยความซื่อสัตย์ของตัวนักวิ่งสูง เพราะการที่สามารถ วิ่งที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้นั้น คุณจะต้องมีวินัยสูงและกระตุ้นตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้จบระยะ Challenge ให้ได้ผลดีนั่นเอง

และแน่นอนว่าถึงจะมีการจัดอันดับแข่งกับเพื่อนๆบนแพลตฟอร์ม จริงๆแล้วคุณก็ไม่ได้ออกไปวิ่งกับใครอยู่ดี ทำให้เราขาดสังคมกับภายนอก สำหรับคนที่ชอบความตื่นเต้น ชอบทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ และชอบสีสันในงานวิ่งต่างๆ Virtual Run จึงไม่ตอบโจทย์กับคนเหล่านี้


แอปพลิเคชั่นไหนที่สามารถบันทึกการวิ่งและเชื่อมกับระบบ Virtual Run ได้บ้าง ?

จริงๆแล้วมีแอปพลิเคชั่นอยู่มากมาย...แต่จะยกตัวอย่างแอปฯที่ใช้งานฟรี และดี จนต้องบอกต่อให้นะครับ


1. Strava

 เป็นแอปคู่หูของนักกีฬาที่จริงจังกับการออกกำลังกายระดับมืออาชีพ มีการเก็บข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียด และรองรับทั้งการวิ่งและการปั่นจักรยาน จุดเด่นที่นักวิ่งชอบ Strava ก็คือ มีระบบเว็บไซต์ที่ค่อนข้างดี ฟีเจอร์ครบ สามารถใส่รายละเอียดของ Activity ได้เยอะ เช่นรองเท้าที่ใช้ในการวิ่งแต่ละครั้ง (ตรงนี้สามารถทำให้เราประเมินความเสื่อมของรองเท้าที่ใช้ได้) ระบบหลังบ้านของ Strava จะรองรับการ Sync ข้อมูลจากหลายอุปกรณ์ด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา GPS รุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ หรือแอพของค่ายอื่น ๆ ก็สามารถ Sync ข้อมูลการวิ่งมาบันทึกเข้ากับเว็บของ Strva ได้หมด

Feature หลักๆ ของ Strava

-Tracking GPS บันทึกระยะการวิ่งและปั่นจักรยาน

-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ

-มี Challenge คล้ายๆเป็นภารกิจให้เล่นในแต่ละเดือน

-สามารถ Upload Activity ที่เป็นไฟล์มาตรฐานของการบันทึกออกกำลังกาย

-ระบบโค้ชส่วนตัว แนะนำโปรแกรมการวิ่ง (Premium)

-ดูเพื่อนวิ่งแบบ Live (Premium)

-มีแอปบน Apple Watch และรองรับ watchOS2

2.Nike+

แอปนี้เป็นคู่ฝึกวิ่งที่สมบูรณ์แบบเลยทีเดียว เหมาะกับนักวิ่งมือใหม่ที่กำลังหาแอปดีๆที่เป็นตัวช่วยในการบันทึกการวิ่ง เพราะแอปนี้จะติดตามการความก้าวหน้าทุกรายละเอียดตั้งแต่ pace  ทำให้สามารถดูข้อมูลระหว่างวิ่งได้ ภายในแอปยังมีโค้ชส่วนตัวของ Nike+ ช่วยวางแผนการฝึกซ้อมไว้ให้เสมอ ไม่ว่าอยากจะทำอะไร แอปจะปรับเปลี่ยนแผนการซ้อมตามเป้าหมายและสภาพร่างกายปัจจุบัน  แผนการซ้อมจะอัปเดตและปรับตามเพื่อช่วยให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแชร์การวิ่ง เปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อน ๆ โพสการวิ่งได้เองโดยการเพิ่มรูปถ่าย สถิติ และสติกเกอร์ และยังสามารถกำหนดได้ว่าใครจะได้รับโพสบ้างอาจเป็นเพื่อนในเครือข่ายโซเชียล หรือแค่เพื่อน ๆ ใน Nike+ เท่านั้นระยะทาง เส้นทาง ไปจนถึงสถิติส่วนตัวด้วยความแม่นยำ

Feature หลักๆ ของ Nike +

-Tracking GPS บันทึกระยะการวิ่ง

-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ

-Nike+ Coach ระบบเทรนเนอร์ส่วนตัว คอยแนะนำโปรแกรมการวิ่งที่เหมาะกับเรา

-รองรับการใช้งานบน Apple Watch

3.Endomondo

สำหรับนักวิ่งที่มีประสบการณ์ระดับนึงแล้วก็น่าจะเคยเห็นแอพนี้ผ่านตาอยู่บ่อยครั้ง เพราะ Endomondo เป็นแอพที่มีชื่อเสียงในเรื่องของ Community มาก เรียกว่าเป็นแอพที่นักวิ่งหลายๆคนมาร่วมทำกิจกรรมกันบน Endomondo  รองรับกีฬาอื่นๆมากกว่า 40 ชนิดกีฬา เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน สกี ว่ายน้ำ เป็นต้น ฟีเจอร์เด่นของแอปนี้คือการสร้าง Challenge สำหรับการทำกิจกรรม เหมาะกับคนที่อยากได้รับความตื่นเต้นอยู่ตลอด อยากรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆทาง Social Network 

ซึ่งตรงนี้ทำให้ Endomondo เป็นแอพออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมสูงอีกตัวหนึ่ง นักวิ่งมือใหม่หลายๆคนอาจจะใช้แอพตัวอื่นกันมาก่อน แต่พอเริ่มมีสังคมของนักวิ่งก็เริ่มเปลี่ยนใจมาใช้ Endomondo กัน

Feature หลักๆ ของ Endomondo

-บันทึกการทำกิจกรรมได้หลากหลายประเภทกีฬา

-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ

-สามารถสร้าง Challenge และชวนเพื่อนๆมาร่วมเล่น

-ดูเพื่อนวิ่งแบบ Live

-ระบบโค้ชส่วนตัว แนะนำโปรแกรมการวิ่ง (Premium)

-รองรับการใช้งานบน Apple Watch แต่ยังไม่เป็น Native App

4.Runkeeper

เป็นอีกแอปที่น่าสนใจมาก ถึงแม้จะเป็นแอปน้องใหม่ที่ออกมาทีหลัง แต่ก็ได้รับความนิยมในหมู่นักวิ่งไม่น้อยเหมือนกัน ฟีเจอร์ของแอปตัวนี้ เรียกว่าออกแบบมาสำหรับเพิ่มความบันเทิงในการวิ่งโดยเฉพาะ ทั้งในเรื่องของข้อมูลที่บอกออกมาเป็นเสียง การจัด Playlist เพลง ระบบ Community ที่มีการเปรียบเทียบกับเพื่อน หรือการเชียร์เพื่อนๆ ข้อมูลที่เก็บและแสดงผล ทั้งบนแอพและบนเว็บไซต์ไม่ได้มีข้อมูลที่เป็นเชิงลึกมากนัก เลยอาจทำให้ไม่ถูกใจสำหรับนักวิ่งมือเก๋ามากนัก  แต่ก็ทำให้ตัวระบบดูไม่เยอะ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

 Feature หลักๆ ของ Runkeeper

-บันทึกการทำกิจกรรมได้หลากหลายประเภท

-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ

-ระบบ Race ทำภารกิจในแต่ละสัปดาห์

-ระบบโค้ชส่วนตัว แนะนำโปรแกรมการวิ่ง

-มีแอปบน Apple Watch และรองรับการทำงาน watchOS 2 บน Apple Watch


5.Runtastic

ป็นแอปที่ระบบเว็บหลังบ้านดูได้ค่อนข้างละเอียด แต่ใช้งานค่อนข้างยากไม่ค่อยเหมาะสำหรับมือใหม่เท่าไหร่ แถมยังมีแบนเนอร์โฆษณาแปะเต็มไปหมด จุดเด่นของ Runtastic คือระบบดูการวิ่งแบบ Live บนเว็บไซต์ที่ทำได้ดีมาก ถ้าเรา Sync ไว้กับ Account บน Facebook ทุกครั้งที่กดเริ่ม ระบบจะแชร์ Link สำหรับดู Live ให้เพื่อนกดดูการวิ่งของเราได้แบบสดๆเลย นอกจากนี้ Runtastic ยังมีแอปที่ช่วยออกกำลังกายเฉพาะด้านอื่น ๆ อีกหลายตัวทำแยกออกมา เช่น Road Bike, Mountain Bike, Pedometer, Push-Ups และอื่น ๆ อีกมากมาย มีแอปที่คอยช่วยในการออกกำลังกายแล้ว ยังขาย Gadget ด้านออกกำลังกายต่าง ๆ เช่น Sport Gear อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นทั้งนาฬิกา GPS, สายคาดอก Heart Rate Monitor, เครื่องช่างน้ำหนัก เรียกว่าถ้าค่ายนี้มีอุปกรณ์ด้านออกกำลังกายแบบครบวงจรจริง ๆ

Feature หลักๆ ของ Runtastic

-Traching GPS บันทันระยะวิ่ง

-ระบบ Community ติดตาม Activity ของเพื่อนๆ

-มี Challenge คล้ายๆเป็นภารกิจให้เล่นในแต่ละเดือน

-ดูเพื่อนวิ่งแบบ Live

-ระบบโค้ชส่วนตัว แนะนำโปรแกรมการวิ่ง (Premium)

-รองรับ watchOs 2 บน Apple Watch


6.MapMyRun

แอปพลิเคชั่นนี้มีผู้ใช้มากถึง 50 กว่าล้านคน สามารถดูการวิ่งของเราอัพเดทระยะทางที่วิ่งแบบเรียลไทม์ เช็คจำนวนก้าววิ่ง และยังสามารถเก็บประวัติการวิ่งของเรา เพื่อช่วยให้วางแผนการวิ่งได้ดีขึ้น แถมยังสามารถโพสต์ผลงานที่เราทำได้ในแต่ละวันลงโซเชียลได้อีกด้วย จุดเด่นของแอปนี้ยังลงลึกไปถึงการแนะนำโภชนาการว่าควรรับประทานอะไร ปริมาณเท่าไหร่  ไปจนถึงควรดื่มน้ำกี่แก้วในแต่ละวัน แอปนี้จึงเหมาะกับนักวิ่งโดยทั่วไป

Feature หลัก ๆ ของ Map My Run

- ค้นหาเส้นทางการวิ่งได้

- ติดตามตำแหน่ง GPS ขณะวิ่งได้

- บันทึกเส้นทางการวิ่ง และสถิติได้แบบเรียลไทม์

- นับก้าวต่อนาที ตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ

- เชื่อมต่อกับรองเท้า Under Armour Smart Shoes ที่มีชิพซิงก์ เพื่อจับระยะการวิ่งของคุณได้

- เลือกประเภทกิจกรรมได้ เช่น วิ่ง จักรยาน เดินออกกำลังกาย โยคะและกีฬาประเภทอื่น ๆ


อยากเข้าร่วมกิจกรรมการวิ่งแบบ Virtual Run ต้องทำอย่างไร ?

สำหรับใครก็ตามที่อยากทดลองและเปิดประสบการณ์การวิ่งแบบใหม่ให้กับตัวเอง เราขอแนะนำแอปพลิเคชั่น WIRTUAL 

“WIRTUAL” คือ แอปพลิเคชั่นการวิ่งแข่งขันออนไลน์รูปแบบใหม่ที่ให้คุณนั้นสามารถ วิ่งที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ตามที่สะดวก แถมยังสามารถวิ่งบนลู่วิ่งที่บ้านได้อีกด้วย โดยคุณนั้นต้องมีอุปกรณ์จับเวลา ระยะทางและสัญญาณ GPS จะด้วยนาฬิกา หรือ ผ่านแอปต่างๆบนโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถอัพโหลดเข้าแอปได้ เพื่อเป็นการแข่งขันกับเพื่อนๆบนแพลตฟอร์มนั้นๆ

มี Challege มากมายให้เลือกลงสมัครการวิ่ง โดย Challenge ต่างๆจะหน้าตาแตกต่างกันไป และของรางวัลก็จะเข้ากับแคมเปญนั้นๆ ซึ่งทำออกมาได้น่ารัก และสวยงามมาก ให้ความรู้สึกตื่นเต้นและมีกำลังใจในการวิ่ง เสมือนลงแข่งในงานวิ่งจริงๆ


วิธีใช้และดาวน์โหลดแอปฯ WIRTUAL

เมื่อคุณได้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น WIRTUAL เรียบร้อยแล้วคุณสามารถสมัคร Challenge ที่สนใจได้ง่ายๆ เพียงแค่ 5 ขั้นตอนดังนี้

  1. เลือก Challenge ที่คุณสนใจแข่งขัน
  2. เลือกระยะทางที่ต้องการแข่งขัน
  3. กด สมัคร และเช็ครายละเอียดการเข้าร่วมกิจกรรมอีกครั้ง
  4. กรอกที่อยู่ สำหรับการส่งของรางวัลเมื่อวิ่งครบระยะทาง
  5. ชำระเงินค่าเข้าร่วมกิจกรรม

สามารถดาวน์โหลดฟรีได้ทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการ IOS และ Andriod 

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถสนุกกับกิจกรรมวิ่งมาราธอนบน WIRTUAL ได้ทันที !

สรุปทั้งหมด

การวิ่งรูปแบบ Virtual Run ได้เข้ามาทำให้วงการการวิ่งมีสีสันและน่าตื่นเต้น แถมยังเป็นตัวช่วยในเรื่องของความสะดวกสบาย สามารถทำให้นักวิ่งปรับรูปแบบการวิ่งให้เข้ากับวิถีชีวิต ทำให้มีอิสระในเรื่องเวลาและสถานที่ในการวิ่ง มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งได้แม้จะอยู่ที่ไหนก็ตาม แถมยังได้รางวัลอีกด้วย ให้ความรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในงานวิ่งมาราธอนจริงๆ

สำหรับใครที่สนใจอยากจัดกิจกรรม Virtual Run และกิจกรรมประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้น หรือฟิตเนส สามารถคลิกที่นี่เพื่อติดต่อทีมงานของเราได้เลย