November 10, 2023
หลายๆ คนคงคิดถึงกลิ่นอายงานโอลิมปิก กับบรรยากาศเชียร์การแข่งขันของทีมชาติตนเอง รวมไปถึงการสร้างสถิติใหม่ ๆ ซึ่งบรรยากาศเช่นนั้นจะกลับมาอีกครั้งในช่วงกรกฎาคม - สิงหาคม 2024 ที่ประเทศฝรั่งเศส รอติดตามได้เลยครับ!
หนึ่งในกีฬาที่เป็นไฮไลท์ ทำลายสถิติโลกกันเป็นว่าเล่น คงหนีไม่พ้นกีฬายอดนิยมอย่าง “กีฬากรีฑาหรือวิ่ง” นั่นเอง วันนี้เราจึงรวบรวม 10 ตำนานนักวิ่งและโมเมนต์ที่น่าจดจำจากการแข่งขันโอลิมปิก มาอุ่นเครื่องก่อนติดตามการแข่งขันในปีหน้ากัน!
ก่อนอื่นเรามาทวนความจำเกี่ยวกับการแข่งขันกรีฑาในโอลิมปิกกันก่อนครับ ว่ามีประเภทอะไรบ้าง เงื่อนไข กติกาเป็นอย่างไร กีฬากรีฑาในงานโอลิมปิกนั้นจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การแข่งขันแบบลู่และการแข่งขันแบบลาน
การวิ่งที่ต้องแข่งขันกันบนทางวิ่งหรือลู่วิ่งตลอดระยะทาง ใช้การวิ่งเป็นสำคัญตัดสินแพ้ชนะกันด้วยเวลาการแข่งขันที่นิยมกันทั่วไปมี ดังนี้
การวิ่งประเภทลาน คือ การวิ่งที่ต้องแข่งขันกันในสนาม ตัดสินแพ้ชนะกันด้วยระยะทาง อาจเป็นความไกลหรือความสูง โดยแบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้
พอทราบถึงกติกาของการแข่งขันวิ่งในโอลิมปิกแล้ว ก่อนที่จะมีงานโอลิมปิกในเดือนหน้า WIRTUAL ขอย้อนเวลากลับไปถึง 10 โมเมนต์น่าจดจำและตำนานนักวิ่งในงานโอลิมปิก
พูดถึงนักวิ่งในงานโอลิมปิกจะเป็นใครไม่ได้เลยนอกจาก ยอดมนุษย์สายฟ้า “ยูเซน โบลด์” นักวิ่งลมกรดจากประเทศจาไมกา ที่ทำสถิติให้คนทั่วโลกต่างต้องตะลึงเพราะโบลด์นั้นเริ่มแข่งขันในโอลิมปิก ตอนอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น ในระยะทาง 200 เมตร แต่ในตอนนั้นโบลด์ยังทำสถิติได้ไม่ดีเท่าไหร่ เขาทำเวลาถึง 21.05 วินาที แต่ 4 ปีถัดมา ได้มีงานโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง ปี 2008 อีกครั้ง ในรอบนี้โบลด์ได้ทำสถิติที่ทำให้ทั้งโลกต้องอึ้ง เพราะเขาสามารถทำสถิติระยะทาง 100 เมตร ใช้เวลาเพียง 9.69 วินาที และได้เป็น World Record และ Olympic Record ในปีนั้นด้วย
ซึ่งโบลด์ยังสามารถคว้าเหรียญทองโอลิมปิกอีกหลายรายการและหลายปีอีกด้วย
โบลด์จึงเป็นตำนานนักวิ่งผู้ยิ่งใหญ่ตลอด สามารถรับชม Highlight การวิ่งของเขาได้ที่ Usain Bolt | ALL Olympic finals
อย่างที่ทุกคนทราบ การแข่งขันกรีฑาแบ่งเป็นประเภทลู่และประเภทลาน ซึ่งความถนัดของนักกีฬาจะแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ใช่สำหรับคาร์ล ลูอิสเพราะเขาสามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันกรีฑาทั้งประเภทลู่และประเภทลาน จนทั้งโลกต้องขนานนามเขาว่า “ราชาแห่งกีฬากรีฑาหรือคิงคาร์ล”
ลูอิสได้เริ่มเล่นกีฬากรีฑาตั้งแต่ อายุ 13 จุดเริ่มต้นของลูอิสคือ พ่อของเขาเป็นโค้ชให้แก่ลูอิส และพรสวรรค์ด้านการกระโดดจึงทำให้เขาได้ติดทีมชาติ แม้เขาจะมุ่งซ้อมแค่การกระโดดไกล แต่ด้วยพรสวรรค์ของเขา ทำให้เขาถูกจับมาลงแข่งขันประเภทลู่ และเขาก็สามารถคว้าเหรียญทองมาได้ติดต่อกันถึง 4 ปี
ซึ่งเหรียญทองที่คาร์ล ลูอิสสามารถคว้ามาได้มีดังนี้
(ในตอนแรกคนที่คว้าเหรียญทองคือ Ben Johnson แต่ภายหลังเขาถูกจับได้ว่าใช้สารกระตุ้น จึงทำให้คาร์ล ลูอิสคว้าเหรียญทองมาแทน)
ลูอิสสามารถคว้าเหรียญทองมาได้ทั้งหมด 9 เหรียญ เหรียญเงิน 1 จากการแข่งขันโอลิมปิกทั้ง 4 ครั้ง และยังเป็นเจ้าของสถิติ 4 เหรียญทองจากกระโดดไกล เลยทำให้เขากลายเป็น ราชาแห่งกีฬากรีฑา นั่นเอง
“ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” นี่อาจไม่ใช่เพียงคำคมเท่ๆ ไว้เพื่อพูดปลอบใจตัวเองแต่มันคือคำพูด คือแรงจูงใจที่ทำให้ชายคนนึงไม่ละเลิกและไม่ยอมแพ้ จนกระทั่งเขาสามารถคว้าชัยชนะได้ “ฮิชาม เอล เกอรูจ”
ฮิชาม ชายหนุ่มจากประเทศโมร็อกโก เขาเกิดและเติบโตจากธุรกิจที่ขายขนมปัง ทุกครั้งเวลาที่เขาต้องไปส่งขนมให้แก่ลูกค้า พ่อกับแม่ของเขาจะให้เขาวิ่งไปส่ง ซึ่งเขาต้องวิ่งไป-กลับระยะทาง 1.5 กิโลทุกวัน ภายในเวลา 8 นาที เพื่อที่จะไม่ทำให้ขนมปังนั้นเย็น การวิ่งทุกวันนี้แบบนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นการวิ่งของเขา
การแข่งขันวิ่งรายการของฮิชามคือ รายการ World Indoor Championship 1995 ระยะทาง 1500 เมตร ซึ่งเขาสามารถคว้าชัยชนะตั้งแต่รายการแรก จึงทำให้เขามีความมุ่งมั่นซ้อม เพื่อที่จะไปแข่งโอลิมปิก ในการแข่งขันวิ่งโอลิมปิกปีแรกของเขาคือ Olympic Atlanta 1996 เขายังไม่สามารถนำชัยชนะกลับมาได้ เขาได้เพียงอันดับที่ 12 เท่านั้น แต่เขาไม่ยอมแพ้ เขามั่นฝึกซ้อมทุกวัน จนสามารถคว้าชัยชนะในราย World Championship ในปี 1997 และ 1999 ได้ คราวนี้เขาจึงกลับมาพร้อมความมั่นใจและลงแข่งขันวิ่งโอลิมปิกอีกครั้ง ในปี 2000 แต่สุดท้ายเขาก็คว้ามาได้เพียงเหรียญเงิน
แต่ความพยายามของเขายังไม่สิ้นสุด เขากลับไปฝึกซ้อมให้หนักขึ้นเพื่อรอแข่งขันโอลิมปิก และผลของความพยายามแม้มันจะออกมาช้าแต่มันก็ออกมาในที่สุด จนในที่สุดในปี 2004 โอลิมปิกเกมส์ที่กรุงเอเธนส์ เขากลับมาเอาชนะได้ในทั้ง 2 รายการที่ลงแข่งขัน ทำให้เขากลายมาเป็นชายคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์โอลิมปิก ที่เอาชนะการแข่งขันวิ่งในระยะ 1,500 เมตร และ 5,000 เมตรทั้ง 2 รายการพร้อมกันในปีเดียว
สุดท้ายนักวิ่งปอดเหล็กฮิชามก็แสดงให้ทุกคนเห็นแล้วว่า ความพยายามของเขาไม่เคยสูญเปล่าเลย
โม ฟาราห์ คือหนึ่งในนักวิ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ ผลงาน 4 เหรียญทองโอลิมปิก และ 6 เหรียญทองชิงแชมป์โลกจากการลงแข่งระยะ 5,000 เมตร และ 10,000 เมตร คือเครื่องการันตีความยิ่งใหญ่ของเขา
ที่มากไปกว่านั้น เขายังได้รับการประดับยศอัศวิน ซึ่งเป็นเกียรติที่น้อยคนจะได้รับหากไม่ได้สร้างชื่อเสียงและคุณงามความดีให้กับประเทศชาติอย่างแท้จริง
จากความสำเร็จข้างต้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เขาจะอำลาการแข่งประเภทลู่ในปี 2017 เพื่อหันไปมุ่งหน้ากับมาราธอนอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม 2 ปีผ่านไป ฟาราห์ประกาศกลับคืนวงการกรีฑาประเภทลู่อีกครั้ง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ Olympic Tokyo ในปีนี้
โม ฟาราห์ ไม่ใช่ชาวสหราชอาณาจักรโดยกำเนิด เขาเกิดที่ประเทศโซมาเลีย ในปี 1983 ก่อนที่จะย้ายตามมาอยู่กับพ่อตอนอายุได้ 8 ขวบ ซึ่ง ณ ตอนนั้นไม่มีใครรู้เลย ว่าเด็กน้อยรายนี้จะเติบโตขึ้นเป็นนักกรีฑาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของสหราชอาณาจักรในเวลาต่อมา
ฟาราห์คว้าแชมป์รายการใหญ่ครั้งแรกในกรีฑาเยาวชนชิงแชมป์ยุโรปเมื่อปี 2001 จากประเภท 5,000 เมตร ก่อนจะตามมาด้วยแชมป์ระดับประเทศและระดับทวีปอีกมากมายหลังจากนั้น รวมทั้งได้ไปแข่งโอลิมปิกเกมส์ ครั้งแรกที่กรุงปักกิ่งในปี 2008 แต่ไปถึงแค่รอบรองชนะเลิศ
และในการแข่งขันโอลิมปิก 2012 ฟาราห์ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง เพราะเขาสามารถคว้าทั้ง 2 เหรียญทองในประเภท 5,000 เมตร และ 10,000 เมตร กลายเป็นนักวิ่งคนที่ 7 ในประวัติศาสตร์ที่คว้าแชมป์ทั้ง 2 รายการในโอลิมปิกปีเดียวกันได้สำเร็จ
อีกทั้งการแข่งขัน Olympic Rio 2016 นั้น ในระหว่างที่เขากำลังวิ่งในรายการ 10000 เมตรนั้น พอวิ่งได้สักระยะ เขาได้ล้มลงไปทำให้มีนักวิ่งหลายๆ คนนำหน้าเขาไป แต่สุดท้ายฟาราห์ลุกขึ้นมา แล้วสู้จนทำให้เขาสามารถคว้าเหรียญทองในรายการวิ่ง 10000 เมตรไปได้
และ Olympic Tokyo ในปีนี้ ฟาราห์ตัดสินใจในการลงแข่งขันวิ่ง 5000 เมตรและจะพุ่งเป้าไปที่ 10000 เมตรด้วย มาร่วมลุ้นกันว่า เขาจะสามารถรักษาแชมป์เหรียญทองได้หรือไม่
“หลิวเซียง” ในวัยเด็กก็เหมือนกับเด็กคนอื่นที่ซุกซนชอบกระโดดโลดเต้นปีนป่ายไปมา พออายุได้ 13 ปี พ่อของเขาเห็นแววจึงส่งเข้าโรงเรียนกีฬายุวชนของนครเซี่ยงไฮ้ โดยหลิวเซียง เริ่มจากกีฬากระโดดสูง ก่อนจะถูกโค้ชกรีฑาซึ่งเห็นหน่วยก้านของเขาและคิดว่าสามารถเอาดีทางวิ่งข้ามรั้วได้ จึงให้เขาเลิกกระโดดสูงและมาวิ่งข้ามรั้วเพียงอย่างเดียว
นักวิ่งเลือดมังกรผู้นี้ เริ่มเป็นที่รู้จักจากการที่เขาคว้าเหรียญทองจาก เอเชี่ยนเกมส์ ในปี 2002 และต่อมาในโอลิมปิกเกมส์ ปี 2004 เขาทำให้คนทั้งโลกได้เห็นวิชาตัวเบาของเขาด้วยการชนะเลิศการแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว 110 เมตรชายแบบขาดลอย ซ้ำยังเป็นการทำลายสถิติโอลิมปิกอีกด้วย ทำให้เขาคือชาวจีนคนแรกที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขันกรีฑาโอลิมปิก
ในอีก 4 ปี ต่อมาในปี 2008 มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติได้ถูกจัดขึ้นที่ประเทศจีนบ้านเกิดหลิวเซียง ตั้งใจฝึกซ้อมเป็นอย่างมากเพื่อป้องกันแชมป์ให้ได้
แต่เมื่อถึงวันแข่งขันโชคร้ายก็เกิดขึ้นกับเขา หลิวเซียงได้รับบาดเจ็บเอ็นร้อยหวายตอนช่วงออกตัวทำให้ต้องออกจากการแข่งขัน “น้ำตา”ของเขาไหลริน น้ำตานี่ไม่ได้เกิดจากการพ่ายแพ้ต่อการแข่งขัน แต่มันเกิดขึ้นจากการที่เขา “พ่ายแพ้” ให้แก่ ร่างกายตนเอง ครั้นแล้วในอีก 4 ปีต่อมา ในปี 2012 ที่ Olympic London หลิวเซียง กลับมาอีกครั้งและก็ประสบกับเหตุการณ์บาดเจ็บซ้ำ โดยในรอบคัดเลือกเขากระโดดไม่ผ่านรั้วแรกทำให้ได้รับบาดเจ็บเป็นครั้งที่ 2 ในการแข่งขัน
ท้ายที่สุดในโอลิมปิกทั้ง 3 ครั้งของเขา แม้เขาจะได้เพียง 1 เหรียญทอง แต่นั่นก็เพียงพอที่จะให้เขาถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “นักวิ่งข้ามรั้วที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์”
เดเร็ค เรดมอนด์ เป็นคนที่ไม่เคยยอมแพ้อะไรอย่างง่ายดาย เขาคือนักกีฬาที่คนอังกฤษนับถือมากที่สุดคนหนึ่ง ด้วยการเป็นเจ้าของเหรียญทองแชมป์โลกวิ่ง 4x400 ที่โตเกียว ทำให้เขาเป็นที่น่าจับตาในโอลิมปิก 1988 ที่เกาหลีใต้ แต่เขาต้องฝันสลายเมื่อได้รับอาการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อม จึงชวดลงแข่งในที่สุด 4 ปีต่อมา เขาได้เข้าร่วม โอลิมปิก 1992 ที่ บาเซโลน่า ในฐานะนักวิ่ง 400 เมตร และคือตัวเต็งที่จะคว้าแชมป์ในรายการนี้
ตอนเริ่มวิ่งทุกอย่างดูจะเป็นไปได้สวย เขาออกสตาร์ทในกลุ่มนำและกำลังจะเร่งฝีเท้าเข้าเส้นชัย แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ช็อกคนดู เมื่ออยู่ๆ เขาก็เริ่มจับขาและเดินกะเผลกๆ จนล้มลงในที่สุด เดเร็ค มองดูผู้แข่งขันคนอื่นๆ วิ่งเข้าเส้นชัยไปทีละคนๆ จนครบ แต่เขายังคงลุกขึ้นแล้ววิ่งกึ่งเดินกะเผลกต่อไปโดยไม่สนอาการบาดเจ็บ ซึ่งในตอนนั้นเขามีอาการของ กล้ามเนื้อขาด้านหลัง (Hamstring) ฉีกขาด ในทางการแพทย์หากฝืนวิ่งต่อไปอาจมีอันตราย แต่เขายังไม่หยุดทุกคนบนอัฒจันทร์เอาใจช่วยเขาให้วิ่งต่อไป เขาปฏิเสธทุกการช่วยเหลือ
ปรากฏมีชายคนหนึ่งวิ่งฝ่าเจ้าหน้าที่สนามลงไปในลู่วิ่ง เขาคือ จิม ผู้เป็นทั้งพ่อและโค้ชของ เดเร็ค นั่นเอง พ่อผู้ซึ่งอยากจะหยุดลูกชาย แล้วบอกลูกชายว่า “มันไม่มีประโยชน์แล้วลูก มันจบแล้ว” แต่เขายืนกรานที่จะวิ่งต่อให้ถึงเส้นชัย เขากอดและซบพ่อแล้วร้องไห้โฮ เจ็บปวดทั้งกายและจิตใจ
แน่นอนว่ามันผิดกฎ การช่วยเหลือแบบนี้ เดเร็ค จะถูกตัดสิทธิ์แพ้ฟาวล์ และไม่ถูกนับว่าเข้าเส้นชัย แต่นั่นมันทางทฤษฎีเท่านั้น จิม ไม่สนเรื่องพวกนี้ เขาเชื่อว่าหากเขาพาลูกชายไปถึงเส้นชัยได้ นั่นคือการเข้าเส้นชัยในทางปฎิบัติและที่สำคัญคือลูกชายเขาจะไม่เสี่ยงที่จะเจ็บปวดลุกลามกว่านี้
ภาพของพ่อประคองลูกชายและค่อยๆ เดินไปทีละก้าว ได้ประจักษ์แก่สายตาของคนดูกว่า 65,000 คน เริ่มมีคนปรบมือจากหลักสิบเป็นหลักร้อย จากหลักพันเป็นหลักหมื่น สุดท้ายเสียงปรบมือก็ดังมาจากทั่วมุมของสนาม
แม้การแข่งขันโอลิมปิก 1992 จะจบลงไปแล้ว แต่ภาพความประทับใจที่พ่อช่วยพยุงลูกเข้าเส้นชัย ได้กลายเป็นไวรัลผ่านทางทีวีไปทั่วโลกในขณะนั้น และได้รับการโหวตให้เป็น "50 Stunning Olympic Moments" อีกด้วย รับชมวิดีโอการแข่งขันของ Derek Redmond's Emotional Olympic Story
นักวิ่งเหรียญทองโอลิมปิก จากวิ่ง 100 เมตร 2 สมัยซ้อน, แชมป์โลก 4 สมัยจากระยะเดียวกัน, เจ้าของ 6 เหรียญโอลิมปิก, 11 เหรียญจากชิงแชมป์โลก ซึ่ง 9 เหรียญในนั้นคือเหรียญทอง รวมทั้งแชมป์จากประเภท 200 เมตร และ ผลัด 4x100 เมตร ชื่อของ เชลลี่-แอนน์ เฟรเซอร์-ไพรซ์ ย่อมเป็นหนึ่งในลมกรดสาวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์
นอกจากความสำเร็จที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สิ่งที่เหลือเชื่อยิ่งไปกว่านั้นคือ หลังพักจากลู่วิ่งเพื่อไปทำหน้าที่แม่กว่า 2 ปี เธอกลับมาประกาศศักดาด้วยการคว้า 2 เหรียญทองในศึกชิงแชมป์โลกที่กรุงโดฮา เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งน่าสนใจเหลือเกินว่า เชลลี่-แอนน์ เฟรเซอร์-ไพรซ์ จะกลับมาทวงบัลลังก์ของตัวเองในโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวปีนี้หรือไม่
ในการแข่งขันโอลิมปิกนั้น เธอสามารถคว้าเหรียญทอง, เหรียญเงินและเหรียญทองแดง ในการแข่งขันโอลิมปิก ถึง 3 ปี รายการที่เธอสามารถคว้าเหรียญมาได้ มีดังนี้
สามารถดู Highlight การวิ่งของเธอได้ที่ All Shelly-Ann Fraser-Pryce's Olympic Medal Races
ในกีฬาวิ่งมาราธอนนั้น เรามักจะเห็นแต่นักวิ่งแอฟริกันทั้งชายและหญิง แต่มีครั้งหนึ่งทั่วโลกได้รู้จักปอดเหล็กสาวชาวอาทิตย์อุทัยรายนี้ที่ชื่อว่า “มิซูกิ โนงูจิ”
มิซูกิ เกิดที่จังหวัดคานางาวะ โดยแข่งวิ่งมาตั้งแต่สมัยเรียน เริ่มจากการวิ่ง “ฮาล์ฟ มาราธอน” จนได้รับฉายาว่า “ราชินีแห่งฮาล์ฟมาราธอน” ซึ่งเธอลงแข่งขันไปทั้งหมด 24 รายการ และได้รางวัลชนะเลิศถึง 14 รายการ ด้วยกัน
ในปี 2002 เธอได้ตัดสินใจลงแข่งขัน “มาราธอน” เป็นครั้งแรก ในรายการ นาโงย่า มาราธอน ก่อนจะคว้าแชมป์ได้อย่างยอดเยี่ยม ในปีต่อมา เธอได้ลงแข่งขัน โอซาก้า มาราธอน ซึ่งถือเป็นรายการใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งของนักวิ่งทั่วโลกและมิซูกิก็คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง พร้อมทำสถิติใหม่ของรายการด้วยเวลา 2:21:18 นาที
ในปี 2004 เธอได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักวิ่งมาราธอนทีมชาติญี่ปุ่น ไปแข่งขันโอลิมปิก ณ กรุงเอเธนส์ มิซูกิทำผลงานสุดยอดคว้าเหรียญทองไปครอง ถือเป็นคนที่สองของญี่ปุ่น ต่อจาก นาโอกะ ทากาฮาชิ ที่ทำได้ในโอลิมปิกปี 2000
ถัดมาในปี 2005, 2007 สาวปอดเหล็กชาวญี่ปุ่นผู้นี้ก็สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ เบอร์ลิน มาราธอนและโตเกียว มาราธอน ซึ่งเป็นรายการระดับเมเจอร์ได้ตามลำดับ
มิซูกิ ลงแข่งขันวิ่งมาราธอนไปทั้งหมดเพียงแค่ 6 รายการ และได้รางวัลชนะเลิศถึง 5 รายการ และรองชนะเลิศอันดับที่ 1 แค่รายการเดียวเท่านั้น ทำให้เธอคือ “หญิงแกร่ง แดนอาทิตย์อุทัย”อย่างแท้จริง
ฟรอเรนซ์ กริฟฟิท จอยเนอร์ เจ้าของสถิติ World Record และ Olympic Record ในรายการวิ่ง 100 เมตรและ 200 เมตรตั้งแต่โอลิมปิกปี 1988 จนถึงปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถล้มสถิติที่เธอสร้างไว้ได้เลย
ฟรอเรนซ์ เริ่มวิ่งตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และฝึกฝนเพิ่มความเร็วในการวิ่งมาตลอด อีกทั้งเธอยังเป็นนักกีฬากรีฑาตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ จนในปี 1980 เธอเข้ามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย โค้ช Bob Kersee ได้เห็นถึงศักยภาพของเธอ แล้วเธอจึงได้รับการฝึกซ้อมวิ่งโดยโค้ช Bob Kersee เพื่อเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันโอลิมปิกปี 1984 ที่ลอสแองเจลิส ซึ่งในปีนั้นเองเธอได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการแข่งขัน 200 เมตรและกลายเป็นคนดังของสื่ออย่างรวดเร็วด้วยเล็บที่ตกแต่งด้วยเล็บขนาด 6 นิ้ว (15 ซม.) และชุดแข่งที่สะดุดตา เธอสวม Jumpsuit สีม่วงโดดเด่นอย่างมาก
หลังจากในปี 1984 ที่เธอสามารถสามารถคว้าเหรียญเงินมาได้ เธอมีโอกาสกลับมาแก้มือในการแข่งขันโอลิมปิก ปี1988 อีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้เธอได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ที่คนทั้งโลกต้องยกย่องเธอ เพราะเธอสามารถคว้าเหรียญทองในปีนั้นได้ถึง 3 รายการ อีกทั้งยังสร้าง World Record และ Olympic Record ถึง 2 รายการจนในปัจจุบันก็ยังไม่มีใครล้มสถิติของเธอได้เลย
รายการที่เธอลงแข่งขันในโอลิมปิกมีดังนี้
อลิสัน เฟลิกซ์ นักวิ่งโอลิมปิกทีมชาติสหรัฐอเมริกา เธอเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมา 4 ครั้งแล้ว และสามารถคว้าเหรียญโอลิมปิกมาได้ทั้งหมด 9 เหรียญ เป็นเหรียญทอง 6 เหรียญ และล่าสุดในการแข่งขันรายการ World Championships ในปีนี้ที่เมืองโดฮา ประเทศการ์ตา เธอเพิ่งจะทำลายสถิติของยูเซน โบลต์ ชายหนุ่มผู้ได้ชื่อว่าวิ่งเร็วที่สุดในโลกไปได้
การทำลายสถิติครั้งนี้ของอลิสัน ไม่ใช่การทำลายสถิติ ‘การวิ่ง’ แต่เป็นการทำลายสถิติจำนวนเหรียญรางวัล โดยในปีนี้เธอได้รับเหรียญรางวัลในการแข่งขัน World Championships มากถึง 12 เหรียญทอง ในขณะที่โบลต์เคยทำสถิติไว้ในปี 2017 จำนวน 11 เหรียญทอง
แม้อาจจะฟังดูไม่น่าตื่นเต้น แต่สิ่งที่ทำให้เรื่องนี้เป็นมากกว่า การทำลายสถิติจำนวนเหรียญรางวัลก็คือ อลิสัน เฟลิกซ์ ในวัย 33 ปี กลับมาลงแข่งในรายการนี้หลังจากเธอเพิ่งจะคลอดลูกได้ 10 เดือน และเป็นคลอดแบบผ่าตัด ซึ่งนอกจากความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดแล้ว ยังต้องใช้เวลาพักฟื้นนานประมาณ 3 เดือนจึงจะเริ่มทำงานหนักได้
และในปีนี้ เธอจะกลับมาลงแข่งขันวิ่งในกีฬาโอลิมปิก ที่โตเกียวอีกด้วย มาลุ้นกันว่า เธอจะสามารถคว้าเหรียญรางวัลกลับไปได้อีกครั้งหรือไม่
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นสิ่งที่นักกีฬาทุกคนต่างใฝ่ฝันอยากไป เพื่อสร้างชื่อเสียงและประวัติศาสตร์ให้แก่ประเทศและตัวเอง ซึ่งนักกีฬาวิ่งในการแข่งขันโอลิมปิกหลายๆ คน ต่างก็เริ่มจากศูนย์ ทุกคนต่างมีอุปสรรคหลายๆ อย่าง อีกทั้งบางคนก็ต้องผิดหวังในการแข่งขันโอลิมปิก แต่ทุกคนไม่เคยท้อและถอดใจ นักวิ่งทุกคนที่พลาดในการแข่งขัน ทุกๆ คนต่างก็จดจำถึงสิ่งที่พวกเขาพลาด แล้วนำกลับไปปรับปรุงและหมั่นฝึกซ้อม จึงทำให้นักวิ่งเกือบทุกคนประสบความสำเร็จ
ส่วนนักวิ่งอย่างเราที่อาจไม่ได้วิ่งเร็วแรงเหมือนนักวิ่งโอลิมปิก ก็สามารถแข่งขันกับนั่งวิ่งทั่วโลกสร้างโมเมนต์ของตัวเองได้บนแอปพลิเคชัน WIRTUAL แอปวิ่ง Virtual Run ที่คุณสามารถเข้าร่วมชาเลนจ์แข่งขันกับนักวิ่งมากมาย เพิ่มความสนุกให้การออกกำลังกาย แถมได้ลุ้นรางวัล! เริ่มต้นแข่งขันสร้างโมเมนต์แห่งความทรงจำของตัวเองกับ WIRTUAL ได้แล้ววันนี้ ดาวน์โหลดฟรี!