Employee Engagement คืออะไร? เคล็ดลับสร้าง Productivity ให้พนักงานแบบ 10 เท่า

August 8, 2023

Employee Engagment คือ การมีส่วนร่วมของพนักงานที่ช่วยสร้าง Productivity ได้มากกว่าที่หลายคนคิด! เพราะพนักงานที่มีความ Productive สูงพร้อมลุยทุกงาน ฝ่าฟันทุกปัญหา เปรียบเสมือนทองคำที่ทุกองค์กรอยากมี แต่จะดีกว่าไหมครับ ถ้าเราสามารถสร้างพนักงานภายในองค์กรให้มีความ Productive พร้อมสร้างสิ่งใหม่ ๆ และฝ่าฟันทุกปัญหาไปกับคุณ ซึ่งที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ได้คือ Employee Egagement นั่นเอง 

อย่างไรก็ดี การสร้าง Employee Engagement ให้สำเร็จเป็นอุปสรรคของ HR หลายคน แต่วันนี้เรามีเคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วยให้ HR สามารถบรรลุเป้าหมายสร้างการมีส่วนร่วมให้พนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำได้อย่างไร มีวิธีอะไรบ้าง รวมไปถึงตัวอย่างกิจกรรม Employee Engagement จะเป็นอย่างไรมาดูกันครับ

Employee Engagement คืออะไร

Employee Engagement คือการที่พนักงานมีความผูกพันกับงานและองค์กรของพนักงาน ซึ่งส่งผลดีต่อการมีส่วนร่วม และส่งผลถึงความ Productive และผลลัพธ์ต่องานที่ได้รับมอบหมาย

โดยหลักแล้ว Employee Engagement จะส่งผลให้เกิดทัศนคติเชิงบวกของพนักงานที่มีต่อองค์กร และงานที่รับมอบหมาย และที่พนักงานรู้สึกในเชิงบวกต่อสิ่งที่ทำอยู่ ก็จะช่วยยกระดับงานของพวกเขาได้อีกหลายเท่าเลยครับ

เพราะฉะนั้น ถ้าองค์กรอยากช่วยเสริมสร้างความ Productive ให้พนักงาน นอกเหนือจากสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ในออฟฟิศแล้ว การสร้าง Employee Engagement ให้เกิดขึ้นจริงก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ช่วยผลักดันพัฒนาพนักงานได้เป็นอย่างดี

เกิดอะไรขึ้นกับองค์กรที่ขาด Employee Engagement 

คำว่า Engagement เป็นคำที่มีความหมายในเชิงบวกแทบจะทุกอุตสาหกรรม ในการทำการตลาดหลายแบรนด์ก็ให้ความสำคัญกับ Engagment ซึ่งรวมไปถึงการทำงานภายในองค์กรเช่นกัน เพราะอย่างที่ทราบไปก่อนหน้านี้ว่าเมื่อพนักงานมี Engagement รู้สึกผูกพันและอยากมีส่วนร่วมกับองค์กร ก็ส่งผลต่อผลงานที่มีประสิทธิภาพ 

ซึ่งองค์กรที่ขาด Engagement ก็มักจะประสบปัญหาหลัก ๆ อยู่ 3 ข้อด้วยกัน เช่น 

1. ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง

ถ้าเราสังเกตเห็นว่าพนักงานบางคนเริ่มดูตัวเองไม่ได้สนใจ หรือไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับงานที่ได้รับมอบหมายเมื่อไหร่ ผมแนะนำว่า HR ควรต้องรีบเข้าไปดูแลโดยด่วนเลยครับ เพราะถ้าปล่อยให้เป็นนาน ๆ อาจส่งผลเสีย และอาจทำให้พนักงานคนนั้นลาออกไปในที่สุด ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานรู้สึกเช่นนี้เพราะไม่ได้รู้สึกผูกพันกับสิ่งที่ทำ อาจแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนงานให้เหมาะสมกับความต้องการของพนักงาน หรือเปิดโอกาสให้ออกความเห็นในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ เพื่อให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และได้มีส่วนร่วมกับงานนั้นจริง ๆ ครับ

2. การสื่อสารไม่ดี Teamwork ต่ำ

ถ้าพนักงานไม่ Engage กับงานว่าแย่แล้ว แต่ถ้าไม่ Engage กับเพื่อน ๆ พนักงาน หรือหัวหน้าด้วยล่ะก็เข้าขั้นวิกฤตเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าพนักงานไม่สื่อสาร ทำอะไรไม่บอก สงสัยไม่ถาม ก็มักจะทำให้งานที่ออกมาผิดพลาดต้องแก้ซ้ำไปมาจนเสียเวลา และบั่นทอนจิตใจ โดยปัญหานี้ก็อาจเกิดได้จากการขาด Employee Engagement เช่นกันครับ อาจต้องเสริมด้วยการพูดคุยกับเขาให้มากขึ้น หรือจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้ง่าย และที่สำคัญหัวหน้างานหรือ Team lead ต้องสนับสนุนในส่วนนี้ด้วยครับ

3. พนักงานลาบ่อย และมีอัตราการลาออกสูง

การลางานบ่อยครั้งโดยไม่ได้มีเหตุจำเป็น ย่อมส่งผลเสียต่อการทำงานเป็นอย่างมาก เพราะพนักงานอาจไม่สามารถทำงานได้เสร็จสิ้นตามเป้าหมาย รวมไปถึงบางครั้งอาจส่งผลเสียต่อเพื่อนร่วมงานท่านอื่น ๆ ที่ต้องรับช่วงต่อ นอกจากนี้อัตราการลาออกที่สูงก็อาจมีปัจจัยอย่างเรื่อง Engagement ของพนักงานเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ทำให้ Employee Engagment คือยารักษาโรคร้าย ถ้า HR ท่านไหนกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เราแนะนำให้ลองนำกลยุทธ์สร้าง Engagment เข้ามาใช้ จะช่วยให้คุณสามารถพัฒนาองค์กร และบริหารคนได้ดียิ่งขึ้นแน่นอนครับ

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้าง Employee Engagement ในปี 2023

การสร้าง Employee Engagement คือสิ่งที่ช่วยเพิ่ม Productivity ให้พนักงานได้ แต่ว่าการสร้าง Engagement ของพนักงานสามารถทำได้หลายแบบ วันนี้ผมได้เลือก 5 ปัจจัยหลัก ๆ ที่ช่วยสร้าง Engagement มาแนะนำทุกคนกันครับ

1. สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Digital Workplace

เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ลดงานซ้ำซากที่ไม่ได้มีความสำคัญมากขนาดนั้น สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่ม Productivity ให้พนักงานกลับมารู้สึกสนุกกับงาน พร้อมชนความท้าทายใหม่ ๆ ไม่ต้องจมอยู่กับงานที่ไม่จำเป็น ถ้าเป็นไปได้ผมแนะนำให้ลองหาเครื่องมือให้แต่ละแผนกในการใช้งานดู อาจเริ่มต้นจากซอฟต์แวร์ราคาที่ไม่สูงเพื่อทดลองใช้งานก่อนก็ได้ครับ

2. ตารางการทำงานที่ยืดหยุ่น

การที่มีตารางงานยืดหยุ่นช่วยให้พนักงานรู้สึกมีอิสระในการทำงานมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องคอยติดอยู่กับกรอบการทำงานเวลาเดิม ๆ ที่สำคัญพนักงานแต่ละคนมีการใช้ชีวิตไม่เหมือนกัน บางคนมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ อาจทำให้ไม่สามารถทำตามเวลางานที่กำหนดได้เป๊ะ ๆ การที่เราสามารถจัดตารางที่ยืดหยุ่นได้ก็ช่วยให้พวกเขาเลือกเวลาทำงานเอง ตราบใดที่ทำงานเสร็จและมีคุณภาพ ต่อให้เข้า-ออกงานเวลาไหนก็ไม่ใช่ปัญหา

3. สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งในข้อนี้จะเป็นภาพที่กว้างกว่าการสร้าง Digital Workplace ครับ เพราะสภาพแวดล้อมในที่นี้รวมถึงทั้งหมดในออฟฟิศ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ การออกแบบออฟฟิศหรือสวัสดิการพนักงานที่ต้องตอบโจทย์ความต้องการ และช่วยส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น โต๊ะปรับระดับ เก้าอี้ Ergonomic หรือพื้นที่สำหรับงีบพักผ่อนระหว่างวัน

4. วัฒนธรรมองค์กรที่ตอบโจทย์

วัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งข้อนี้ HR คนเดียวไม่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ แต่จำเป็นต้องวางรากฐานตั้งแต่ทีมผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้าแต่ละทีมเห็นภาพเป้าหมายเดียวกันก่อน สิ่งนี้จะช่วยให้การสร้างวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น

เมื่อองค์กรของเรามีวัฒนธรรมที่ชัดเจน พนักงานที่สามารถเข้ากับวัฒนธรรมนี้ได้มักจะมี Engagement กับที่ทำงานสูงมาก เพราะฉะนั้นถ้าเรามีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ก็ช่วยให้เราเห็นชัดได้ว่าใครที่เหมาะหรือไม่เหมาะกับองค์กรของเรา

5. ความก้าวหน้าทางอาชีพ

ไม่ว่าใครก็อยากมีหน้าที่การงานที่ดีใช่ไหมครับ ดังนั้นถ้าเราช่วยพนักงานในองค์กรให้สามารถนำสิ่งที่ได้จากการทำงานไปต่อยอด หรือให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่ทำนั้นมีคุณค่า เป็นประโยชน์ ช่วยพัฒนาทักษะในสายอาชีพของพวกเขาได้ ก็ช่วยให้พวกเขามีส่วนร่วม และรู้สึกผูกพันตั้งใจทำงานมากขึ้นได้แน่นอน 

HR อย่างเราก็อาจแจ้งหัวหน้าทีมแต่ละแผนกให้ลองมอบหมายงานที่ท้าทายให้พนักงานบ่อย ๆ และค่อยให้คำแนะนำพวกเขาอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยสร้าง Employee Engagement ที่เราต้องการได้ 

วิธีการวัด Employee Engagement

เคยเป็นกันไหมครับ จัดกิจกรรม Team Building หรือ Outing หมดเงินไปหลายหมื่น โดยมีเป้าหมายที่อยากให้พนักงานแต่ละแผนกรู้สึกผูกพัน มี Engagement ทั้งในองค์กร และกับเพื่อนร่วมงาน ช่วงที่ทำกิจกรรมก็ดูสนิทสนมกันดี พูดคุยได้สนุกสนาน แต่ทำไมพอกลับมาที่ออฟฟิศทุกอย่างเหมือนย้อนเวลา กลับไปก็ต่างคนต่างอยู่เหมือนเดิม ผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรมไม่ชัดเจน แต่หัวหน้าก็อยากได้ Result ที่จับต้องได้

ถ้าคุณเคยปวดหัวกับเรื่องแบบเดียวกับผม ในส่วนนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการวัด Employee Engagement ของพนักงานกันครับ โดยวิธีนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพมากขึ้นว่า กิจกรรม หรือสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นมานั้นช่วยสร้าง Engagement ให้พนักงานได้จริงหรือไม่ 

ซึ่งความยากของการวัด Employee Engagement คือ ผลลัพธ์ของ ความผูกพัน หรือ การมีส่วนร่วม นั้นวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ยากมาก แถมจะเป็นเรื่องความรู้สึกส่วนบุคคลล้วน ๆ แต่ก็ยังมีหลายวิธีที่เราสามารถเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ให้ออกมาเป็นตัวเลขทำรายงานได้เห็นผลอย่างชัดเจน ผมขอแบ่งเป็นสองรูปแบบหลักดังนี้

  1. ทำแบบสอบถามให้พนักงาน
  2. พิจารณาจากปัจจัยรอบข้างที่เกี่ยวข้อง

1. ให้พนักงานทำแบบสอบถาม

เริ่มด้วยวิธีคลาสสิกกับการทำแบบสอบถามโดยมีหัวข้อเกี่ยวกับ Engagement ของพนักงาน ซึ่งเราแนะนำให้ทำในรูปแบบ Pulse Survey หรือการทำแบบสอบถามที่สั้น แต่ทำอย่างเป็นประจำต่อเนื่อง วิธีนี้จะช่วยให้คุณเห็นความ Engage และบรรยากาศโดยรวมในองค์กรได้ดี พอจะทราบได้ว่าสิ่งไหนที่ควรปรับ และความคิดเห็นส่วนใหญ่ของพนักงาน

2. พิจารณาจากปัจจัยรอบข้างที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ Engagement ยังสามารถวัดได้จากปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราการลาออกที่ลดลง หมายถึงพนักงานส่วนใหญ่มีความสุขในการทำงาน และมีความผูกพันกับองค์กร นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น จัดกิจกรรม Team Building ที่วัดผลลัพธ์ได้จริง ๆ มีตัวเลขให้ชัดเจน

วิธีสร้าง Employee Engagement ให้พนักงานทุกคนในองค์กร

มาถึงส่วนสุดท้ายของบทความกันแล้วครับ หลังจากที่รู้จักว่า Employee Engagement คืออะไรกันแล้ว มาเริ่มต้นสร้าง Engagement ให้พนักงานของคุณกันเลย ซึ่งการจัดกิจกรรมหรือสวัสดิการที่ดีต้องคำนึงถึง 5 ข้อนี้ครับ 

  1. เล่นได้ไม่จำกัดคน พนักงานมีส่วนร่วมได้ทุกคน
  2. ประหยัดงบประมาณ
  3. สามารถวัดผลได้จริง
  4. มีความยืดหยุ่น จัดกิจกรรมได้หลายรูปแบบ
  5. ได้ทั้งความสนุก ความสัมพันธ์ และสุขภาพที่ดี

ไม่ว่าคุณจะจัดกิจกรรมรูปแบบไหน เราแนะนำว่าต้องมีทั้ง 5 ข้อนี้อยู่ด้วยครับ ช่วยให้กิจกรรมที่จัดเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าอย่างแน่นอน 

หนึ่งในตัวอย่างกิจกรรม Employee Engagement มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การจัด Team Building ออนไลน์ หรือการจัดสรรสวัสดิการที่ตอบโจทย์ก็ช่วยให้รู้ได้ ซึ่งก่อนจะตัดสินใจว่าปรับเปลี่ยนอะไรอย่างไร เราแนะนำให้ลองสอบถามพนักงาน ทำแบบประเมินจริงจัง เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของพวกเขาจริง ๆ